สินค้า simulator

กิจกรรม

การแข่งขัน

แนะนำอุปกรณ์

ทดลองอุปกรณ์

Categories
บทความทั่วไป

เกิดมาเพื่อจับพวงมาลัย กับ 4 เกมรถแนว Simulator ชื่อดังที่เหมาะสำหรับเล่นร่วมกับอุปกรณ์เสริมมากที่สุด

เพราะรถกับความเร็วคือความฟันที่ผู้ชายหลายคนต่างหลงใหล แต่เพราะเรื่องของค่าใช้จ่ายที่กลายเป็นกำแพงให้บางคนยากแก่การเอื้อมรถในฝันเหล่านี้ โดยเฉพาะ feeling การขับขี่ที่ถือเป็นเรื่องยากที่จะเข้าถึงหากไม่เคยได้ลองขับมันจริง ๆ แต่ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีวงการเกม Simulator ที่ไม่ได้มอบแค่ความบันเทิงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันยังสามารถจำลองสภาพแวดล้อมการขับขี่ออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมในแบบฉบับเกมแข่งรถเหมือนจริง ทำให้เหล่าชายช่างฝันทั้งหลายไม่ต้องหาเงินมาถอยรถเป็นคัน ก็สามารถเข้าถึงฟิลการขับขี่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ส่วนเกมที่ได้ชื่อว่าเป็นเกมระดับแนวหน้าในวงการเกมแข่งรถเหมือนจริงมีอยู่ด้วยกันดังต่อไปนี้

Gran Turismo

1.Gran Turismo

เป็นเกมที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดของวงการ ถึงความเป็นตำนานที่บุกเบิกแนวเกม Simulator มาตั้งแต่ยุค PS1 ซึ่งตัวเกมก็ยังคงแนวแน่ในการนำเสนอเนื้อหาจำลองการขับขี่ออกมาให้สมจริงมากที่สุด รวมไปทั้งการปรับแต่งรถ และรูปแบบการเล่นในสนามที่จำลองมาจากสถานที่ชื่อดังต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก ทั้งทางเรียบและทางฝุ่น จนกระทั่งในปี 2017 ตัวเกมก็ได้ออกภาค Sport โดยมันถือเป็นภาคแรกที่เน้นการทำขึ้นเพื่อแข่งขันกันในเวที E-sports โดยเฉพาะ ภายใต้การร่วมมืออย่างเป็นทางการของ FIA ( สหพันธ์รถยนต์ระหว่างประเทศ ) ส่วนภาคใหม่ล่าสุดอย่าง Gran Turismo 7 ก็กำลังจะออกตามมาในปี 2021 นี้ด้วยเช่นเดียวกัน

Forza

2.Forza

ว่ากันว่ามันเป็นเกมที่ทำมาเพื่อแข่งขันกับ Gran Turismo โดยตรง แถมยังเป็นเกมแข่งรถสมจริงที่ทำมาสำหรับ Xbox ด้วยอีกต่างหาก ( Gran Turismo ทำมาสำหรับ Playstation ) ซึ่งหลาย ๆ อย่างของตัวเกมค่อนข้างมีความใกล้เคียงกัน ต่างกันตรงที่ Forza มีซี่รี่ย์แยกอย่าง Forza Horizon ที่เป็นภาคสำหรับให้ผู้เล่นได้ซิ่งกันนอกสนาม ภายใต้ลายละเอียดการขับขี่ที่ยังคงความสมจริงเหมือนอยู่เช่นเดิม

DiRT Rally

3.DiRT Rally

นับเป็นเกมที่เหมาะสำหรับการใช้อุปกรณ์เสริมมากที่สุด เพราะความโหดหินของระบบการตัวเกมที่ทำให้ผู้เล่นจำเป็นจะต้องใช้ทักษะการขับขี่ขั้นสูงในการประคองรถเพื่อไม่ให้รถไป ” ชน ” หรือ ” พลิกคว่ำ ” ตกข้างทาง เนื่องจากรูปแบบการแข่งจะเป็นการแล่นบนเส้นทางคดเคี้ยวอันสุดหฤโหด ดังนั้นการใช้จอยคอนโทรลเลอร์และคีย์บอร์ดอาจทำให้การทำเวลาในสนามของคุณ ไม่ได้เข้าถึงความมันส์มากเท่าที่ควร 

Spintires

4.Spintires

หากจะเรียกว่าเกมแข่งรถอาจจะไม่ตรงตัวซะทีเดียว เพราะเนื้อหาหลักของเกมนี้คือการพารถไปให้ถึงยังจุดมุ่งหมายของภารกิจ แต่สิ่งที่ทำให้มันได้มาอยู่ในบทความนี้ ก็คือความเหมาะสมในการเล่นผ่านชุดอุปกรณ์เสริมชุดจอยพวงมาลัย เนื่องจากความโดดเด่นของตัวเกมคือระบบการขับขี่บนเส้นทางแบบ ” ออฟโรด ” ที่จะพาไปรู้จักกับความท้าทายในการขับขึ้นเขาลุยโคลน ฝ่าอุปสรรคเส้นทางต่าง ๆ กลางป่าเขา ภายใต้กฎฟิสิกส์อันสมจริง ดังนั้นการหันทิศทางพวงมาลัยและเหยียบคันเร่งให้ตรงจังหวะ จึงเป็นสิ่งที่ให้ฟิลการขับขี่ที่ดีกว่าอย่างแน่นอน เพื่อที่จะข้ามสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ระหว่างทางได้สะดวก

 

 

 

เขียนโดย : นายล้อหมุน

Categories
ข่าวสาร บทความทั่วไป

BMW S1000RR สุดยอดซุปเปอร์ไบค์พันธุ์ดุราคาหลักล้าน

BMW S1000RR สุดยอดซุปเปอร์ไบค์พันธุ์ดุราคาหลักล้าน

BMW S1000RR
ภาพจาก : 9carthai

BMW S1000RR คือรถมอเตอร์ไซค์ซุปเปอร์ไบค์ ในคลาสสปอร์ตไบค์ (Sport Bike) หรือรถมอเตอร์ไซค์ที่ออกแบบโดยมีต้นแบบมาจากรถแข่ง ผลงานจากค่าย BMW ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.2009 และก็ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากไบค์เกอร์ทั่วโลก และในครั้งนี้ก็มีเรื่องราวน่าสนใจของรถบิ๊กไบค์รุ่นนี้มาฝากดังต่อไปนี้ 

ทำความรู้จัก BMW S1000RR ให้มากขึ้น

BMW-S-1000-RR
ภาพจาก : 9carthai
2019-bmw-s1000rr
ภาพจาก : motorival
ตั้งแต่เปิดตัว BMW S1000RR ครั้งแรกเมื่อปี 2009 ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ก็มีการปรับปรุงและปรับโฉมเพื่อความสมบูรณ์แบบของ ซุปเปอร์ไบค์ รุ่นนี้มาตลอด เช่น เมื่อปี 2019 ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ก็มีการปรับโฉมใหม่หมดในชื่อ All New BMW S1000RR ซึ่งถือเป็นเจนเนอเรชั่นที่ 3 ของ รถมอเตอร์ไซค์รุ่นนี้ โดยการปรับโฉมครั้งล่าสุดได้เน้นจุดเด่นในเรื่องของความแรงและเร็วมากขึ้นกว่ารุ่นก่อนๆ อย่างชัดเจน ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการขับขี่ปลอดภัยของบรรดาไบค์เกอร์ด้วยเช่นกัน ทั้งการขับขี่ในชีวิตประจำวัน เส้นทางธรรมชาติอย่างในป่า ภูเขา ที่ยากลำบาก ก็สามารถพาไปบุกตะลุยได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจและเกร็ดน่ารู้ของ BMW S1000RR ที่ได้รวบรวมมาฝากในหัวข้อถัดไปนี้

7 สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ BMW S1000RR

  1. BMW S1000RR มีโหมด การขับขี่ถึง 4 โหลด คือ Wet การขับขี่บนถนนที่ลื่นหรือตอนฝนตก, Road โหมดการขับขี่บนท้องถนนทั่วไป, Dynamic โหมดที่เน้นการยึดเกาะถนน และ Race คือโหมดการขับขี่เสมือนแข่งขันในสนาม อีกทั้งยังติดตั้งระบบ ABS ป้องกันล้อล็อก ซึ่งแบ่งเป็น 2 โหมดย่อยคือ Race ABS และ ABS Pro เพื่อให้ผู้ขับขี่เลือกปรับเปลี่ยนการควบคุมให้ตรงกับรูปแบบการขับขี่ของตัวเองมากที่สุด
  2. ระบบเครื่องยนต์ในรุ่นปรับโฉมล่าสุดมีการพัฒนา จากเครื่องยนต์ 4 สูบเรียง 999 CC ของรุ่นแรกที่เปิดตัว ก็ได้มีการติดตั้งระบบ Shiftcam เพิ่มเติมเข้าไป ซึ่งจะมีส่วนช่วยทำให้การขับขี่มีความนุ่มนวลและสมูธกว่าแบบเดิม มีพละกำลังความแรงมากขึ้นกว่าเดิม และค่ามาตรฐานไอเสียก็ต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด
  3. สมรรถนะเครื่องยนต์กำลังสูงสุดอยู่ที่ 207 แรงม้า กับแรงบิดสูงสุด 113 นิวตันเมตร ช่วยเสริมสมรรถนะในการขับขี่และการเร่งความเร็วได้อย่างเต็มประสิทธิภาพทุกรูปแบบของท้องถนน โดยมีอัตราความเร็วสูงสุดที่ 299 กม./ชม.
  4. All New BMW S1000RR มี 2 โทนสีให้คนรัก ซุปเปอร์ไบค์ ได้เลือก นั่นคือ สีแดง (Racing Red) ราคา 1,020,000 บาท กับสีน้ำเงิน-ขาว (ight White /Racing Blue Metallic) ราคา 1,050,000 บาท
  5. หน้าปัดเรือนไมล์ของ BMW S1000RR เป็นจอแสดงผล TFT ขนาด 6.5 นิ้ว ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่จำเป็นในการขับขี่ทุกอย่าง สามารถเลอกใข้งานหน้าจอได้ทั้งแบบ Pure Ride Screen หรือ Core Ride Screens แบบสามหน้าจอพร้อมกัน ที่สำคัญคือระบบ Multicontroller เลื่อนหน้าจอขึ้นลงเพื่อใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ที่ต้องการขณะขับขี่ได้โดยไม่ต้องปล่อยมือจากแฮนด์บาร์
  6. โครงสร้างตัวถังของรถซุปเปอร์ไบค์รุ่นนี้เรียกว่า Bridge Type frame ที่มีระบบกันสะเทือนด้านหน้าแบบหัวกลับ จึงทำให้การขับขี่มีความสมูธและคล่องตัว อีกทั้งยังสามารถปรับตั้งค่าของสปริงได้ เพื่อให้รถทรงตัวได้อย่างแข็งแกร่ง มีความบาลานซ์อยู่เสมอและตอบสนองอย่างแม่นยำระหว่างการชับชี่ โดยเฉพาะในระยะทางไกลที่ต้องเดินทางต่อเนื่องเป็นเวลานาน 
  7. ระบบการเคลื่อนที่และล้อรถมีกการกระจายน้ำหนักระหว่างล้อและความสามารถในการรับน้ำหนักที่ได้รับการพัฒนาในรุ่นล่าสุดด้วยระบบที่เรียกว่า Full Floater Pro ที่มีส่วนช่วยเสริมให้สมรรถนะช่วงล่างของล้อหลังมีการทำงานที่ยอดเยี่ยมกว่าเดิม และส่งผลให้การขับขี่มีความปลอดภัยมากขึ้นจากการควบคุมรถและการยึดเกาะถนนที่แม่นยำยิ่งในทุกสภาวะถนนและเส้นทางการขับขี่
  8. นอกจากการพัฒนาด้านสมรรถนะเครื่องยนต์แล้ว BMW ก็ยังให้ความสำคัญกับการออกแบบเพื่อรองรับสรีระของผู้ขับขี่ด้วย เช่น จุดสัมผัสระหว่างผู้ขับและตัวรถ ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สอดรับกับองศาระหว่างผู้ขับขี่ ระยะของมือจับทั้งสองข้าง เบาะนั่งและที่พักเท้า ให้มีความสมดุลและต้องอยู่ในท่วงท่าที่สบายที่สุดตลอดการขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางรูปแบบใดหรือเป็นระยะทางไกลแค่ไหนก็ตาม
BMW-S-1000-RR-3
ภาพจาก : 9carthai
BMW-S-1000-RR
ภาพจาก : 9carthai
Categories
ข่าวสาร บทความทั่วไป

7 รถยนต์ไฟฟ้า ที่น่าสนใจแห่งปี 2021 

7 รถยนต์ไฟฟ้า ที่น่าสนใจแห่งปี 2021 

ปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางยานยนต์ให้ใช้พลังงานไฟฟ้าได้แบบ 100% หรืออาจจเรียกสั้นๆ ว่า รถยนต์ EV กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจจากผู้ใช้รถทั่วโลกและดูแนวโน้มในอนาคตน่าจะเป็นรถยนต์ที่มาแทนการใช้น้ำมันได้ไม่ยาก เพราะมีข้อดีหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของการลดมลภาวะทางอากาศ เรียกว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปี 2021 นี้ก็มีรถยนต์ไฟฟ้าจากหลายค่ายผู้ผลิต หลายแบรนด์ที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

แนะนำ รถยนต์ไฟฟ้า ที่น่าสนใจและมาแรงจากค่ายรถยนต์ต่างๆ ในปี 2021

Mazda MX-30

Mazda MX-30
ภาพจาก : blognone

ถือได้ว่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% รุ่นแรกของมาสด้าที่ทางค่ายได้พัฒนาขึ้นสำหรับการแข่งขันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มความต้องการรถยนต์ EV มากขึ้น จุดเด่นที่มาสด้านำเสนอก็คือประสิทธิภาพการขับขี่เป็นระยะเวลายาวนานต่อการชาร์จเต็มแต่ละครั้ง เช่น การเดินทางในชีวิตประจำวันสามารถใช้ได้วันละ 50 กิโลเมตร เหมาะกับการใช้งานอย่างขับรถจากบ้านไปที่ทำงาน โดยสามารถชาร์จพลังงานจาก 0-80 % ได้ภายในเวลา 30-40 นาที และมีแผนที่จะเริ่มจำหน่ายในประเทศอังกฤษภายใต้ชื่อ Mazda MX-30 First Edition ตั้งแต่ปี 2021 นี้

Nissan Leaf

Nissan Leaf
ภาพจาก : mthai

สำหรับรถยนต์ EV จากนิสสันรุ่นนี้ เป็นรุ่นแรกๆ ที่มีการจำหน่ายในประเทศไทย ในราคาประมาณ 1,490,000 บาท โดยมีสมรรถนะเด่นๆ คือ ชุดมอเตอร์ไฟฟ้ากำลังแรงม้าสูงสุดที่ 150 แรงม้า พร้อมแบตเตอรี่ที่สามารถวิ่งได้ไกลประมาณ 311 กิโลเมตร ต่อการชาร์จเต็ม 1 ครั้ง เติมพลังงานไฟฟ้าด้วยการเสียบปลั๊กชาร์จไฟ อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีการขับขี่ใหม่ๆ ที่น่าสนใจนั่นคือ แป้น e-Pedal ที่สามารถเร่งและเบรกได้ในแป้นเดียว แต่อย่างไรก็ตามแป้นเหยียบเบรกปกติก็ยังคงติดตั้งมาให้ด้วยเช่นกัน 

Honda E 2021 

Honda E 2021 
ภาพจาก : thaidriving

รถยนต์ไฟฟ้า จากฮอนด้าที่ล่าสุดเพิ่งจะได้รับรางวัล Most Beautiful Interior 2021 หรือรถที่มีการออกแบบห้องโดยสารภายในได้สวยงามที่สุดจากงาน Festival Automobile International ประเทศฝรั่งเศส ด้านสมรรถนะของเครื่องยนต์และการขับขี่ รถยนต์รุ่นนี้ก็ออกแบบมาอย่างเรียบง่ายและมีเอกลักษณ์โดดเด่นน่าสนใจสไตล์ฮอนด้า แต่น่าเสียดายที่เมืองไทยจะยังไม่ได้นำเข้ามาจำหน่ายเร็วๆ นี้ ส่วนประเทศที่มีการจำหน่ายแล้วก็ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ เป็นต้น

BMW i3s

BMW i3s
ภาพจาก : autodeft

เป็น รถยนต์ EV อีกรุ่นที่มีการจำหน่ายในไทยมาระยะหนึ่งแล้ว ปัจจุบันมีราคาประมาณ 2,230,000 บาท ซึ่งความน่าสนใจของรถยนต์จากค่าย BMW รุ่นนี้ก็คือ โครงสร้างตัวถึงที่มีน้ำหนักเบาให้ความรู้สึกโฉบเฉี่ยว ทันสมัย เป็นรถยนต์ประเภทแฮชแบ็คที่มีดีไซน์กะทัดรัดโดดเด่นสะดุดตา ด้านสมรรถนะการขับขี่เป็นระบบ eDrive มอเตอร์ไฟฟ้า สามารถวิ่งได้ระยะทางไกลที่สุดประมาณ 280 กิโลเมตร ต่อการชาร์จพลังงานเต็ม 1 ครั้ง ตามมาตรฐาน NEDC อีกทั้งยังมีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ = 0 ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นที่สุดของ BMW i3S

Kia Soul EV

Kia Soul EV
ภาพจาก : chademocharge

รถยนต์พลังงานไฟฟ้าจาก เกียร์ (Kia) ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในประเทศเกาหลีใต้ กับรถยนต์ EV 100% ที่เข้ามาทำตลาดในไทยรุ่นนี้ ความโดดเด่นก็คือ กำลังสูงสุดที่ 204 แรงม้า กับระยะทางที่รถวิ่งได้ไกลมากที่สุดประมาณ 452 กิโลเมตร ชาร์จพลังงานเต็ม 1 ครั้ง ด้านรูปโฉมของรถทั้งภายนอกภายในก็ได้รับการออกแบบมาอย่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ดีไซน์เส้นสายที่โค้งมนเข้ากับตัวรถ ไฟหน้าแบบ Projector Lens และความบันเทิงภายในห้องโดยสารอันหรูหราทันสมัย

Hyundai Ioniq Electric

Hyundai Ioniq Electric
ภาพจาก : electrive

อีกหนึ่งรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจากประเทศเกาหลี มีระบบชาร์จพลังงานไฟฟ้าที่สามารถชาร์จได้ 3 แบบ คือ แบบทริกเกิ้ล(ปลั๊กเสียบตามบ้าน) แบบธรรมดา (Wall Box) และ แบบชาร์จเร็ว (สถานีชาร์จเร็ว) ด้านสมรรถนะเครื่องยนต์ก็มีกำลังสูงสุดที่ 120 แรงม้า และในการชาร์จพลังงานเต็ม 1 ครั้ง สามารถวิ่งได้ระยะทางไกลที่สุดประมาณ 280 กิโลเมตร เหมาะกับการขับขี่ระยะทางไกลเป็นย่างมาก นอกจากนี้ยังมีระบบความปลอดภัยในการขับขี่ที่ทันสมัย เช่น ควบคุมความเร็วอัจฉริยะ (Smart Cruise Control)

Mini Electric 

Mini Electric 
ภาพจาก : topgear

ก็คือรถยนต์มินิคูเปอร์ในรูปแบบ รถยนต์ไฟฟ้า หรือมีชื่อรุ่นอีกชื่อหนึ่งว่า MINI Cooper SE  โดดเด่นทั้งการดีไซน์ในสไตล์ของรถมินิที่ให้ความรู้สึกถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้านเครื่องยนต์และสมรรถนะการขับขี่ก็ได้รับการพัฒนาโดย BMW Group ให้กำลังสูงสุด 184 แรงม้า และในการชาร์จพลังงานเต็ม 1 ครั้ง สามารถวิ่งได้ระยะทางไกลที่สุดประมาณ 217 กิโลเมตร อีกทั้งยังมีอัตราเร่งความเร็วจาก 0-60 กม./ชม. ได้ภายในเวลาเพียง 3.9 วินาที เท่านั้น 

Categories
ข่าวสาร บทความทั่วไป รีวิว พรีวิว

 McLaren 720S สุดยอดซุปเปอร์คาร์ของคนรักความเร็ว

 McLaren 720S สุดยอดซุปเปอร์คาร์ของคนรักความเร็ว

McLaren-720
ภาพจาก : grandprix

McLaren 720S หรือ “แม็คลาเรน” รุ่น 720S คือรถสปอร์ตสัญชาติอังกฤษที่ได้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ จากรถแข่งฟอร์มูลาวันเข้ามาใช้เป็นฐานในการผลิตเพื่อความแรงและเร็วแต่ในขณะเดียวกันก็สามารถนำไปขับขี่บนท้องถนนทั่วไปได้โดยมีทั้งรูปลักษณ์แบบคูเป้และโรสเตอร์ ซึ่งในครั้งนี้ก็จะพาไปทำความรู้จักกับรถยนต์รุ่นนี้ที่เป็นรถในฝันของใครหลายคนในแง่มุมต่างๆ ที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

สมรรถนะและความโดดเด่นของ McLaren 720S

McLaren 720S เป็นสปอร์ตคาร์รุ่นที่พัฒนาขึ้นเพื่อแทนแม็คลาเรนรุ่น 650S เปิดตัวในงานเจนีวามอเตอร์โชว์เมื่อวันที่ 7มีนาคม ปีค.ศ. 2017 สร้างขึ้นจากคาร์บอนโมโนโคค (Monocage) ที่มีน้ำหนักเบาและแข็งแรงมากขึ้น ตัวถังได้รับการออกแบบบเพื่อความลู่ลมมากกว่ารุ่น 650S อีกทั้งสปอยเลอร์ด้านหลังรูปร่างคล้ายปีกที่สามารถยกตัวอัตโนมัติได้สามระดับตามความเร็ว ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มอัตราความลู่ลมแล้วและเพิ่มประสิทธิภาพในการเบรคได้เป็นอย่างดียิ่งขึ้น

ประสิทธิภาพในการเบรกที่ดังกล่าว ส่งผลให้แม็คลาเรนรุ่นนี้ เบรคจากความเร็วจาก 200 กม./ชม. มาหยุดนิ่งทันทีภายในเวลาเพียง 4.6 วินาที กำลังเครื่องแรงถึง 720 แรงม้า และในส่วนของสมรรถนะความเร็ว สามารถเร่งความเร็วไปที่ 0-200 กม./ชม. ในเวลาเพียง 7.8 วินาที และสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 341 กม. / ชม.  ยังมาพร้อมกับ Variable Drift Mode ซึ่งควบคุมการควบคุมเสถียรภาพเพื่อช่วยในการดริฟท์รถ

ภายในห้องโดยสารก็ได้รับการออกแบบอย่างหรูหรามีระดับด้วยวัสดุหนังแท้และชิ้นส่วนอะลูมิเนียมคุณภาพเยี่ยม บวกกับแผงคอนโซลทรงตั้งและเทคโนโลยีจอแสดงผลแบบ Folding Driver Display ที่มีฟังก์ชันพับเก็บได้แต่ยังแสดงข้อมูลที่จำเป็นซึ่งช่วยเพิ่มทัศนวิสัยขณะขับขี่ให้มีความปลอดภัยมากขึ้นด้วย

McLaren-720S
ภาพจาก : grandprix

McLaren 720S รุ่นพิเศษ Special Edition

ตั้งแต่เปิดตัว  McLaren 720S ในปี 2017 เป็นต้นมา หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนารถสปอร์ตในซีรีส์เดียวกันเป็นรุ่นพิเศษหรือ Special Edition ที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น

McLaren 720S Le Mans Special Edition รุ่นนี้ผลิตขึ้นเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองชัยชนะในการแข่งขันรายการ Le Mans ของรถแข่งฟอร์มูล่าวัน (F1) GTR เมื่อปี 1995 ความพิเศษคือ หมายเลขตัวถังของรถสปอร์ตรุ่นนี้จะเริ่มต้นด้วย ด้วย 298 ซึ่งเป็นจำนวนรอบที่รถแข่ง F1 GTR ทำได้ในการแข่งขันครั้งนั้นนั่นเอง โดยจำกัดจำนวนการผลิตเพียง 50 คันทั่วโลก โดยและมีให้เลือก 2 สี คือ สีส้ม McLaren Orange และสีเทา Sarthe Grey

McLaren 720S Spider เปิดตัวในเดือนธันวาคมปี 2018 ในรูปลักษณ์แบบซุปเปอร์คาร์เปิดประทุน ตัวถังโรสเตอร์ และยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาวัสดุตัวถังให้มีน้ำหนักเบาขึ้น ส่วนของหลังคาทำจากคาร์บอนไฟเบอร์บวกกับเทคโนโลยี Electrochromic Glass ที่ทำให้หลังคากระจกสามารถปรับระดับแสงที่ส่องผ่านได้แบบอัตโนมัติและใช้เวลาในการเปิด-ปิดราวๆ 11 วินาที เท่านั้น โดยรวมแล้ว ความโดดเด่นจะอยู่ที่รูปทรงที่ดูโฉบเฉี่ยว ทันสมัย และทำความเร็วสูงสุดขณะเปิดหลังคาที่ 325 กม./ชม.

McLaren 720S GT3 เปิดตัวครั้งแรกที่งาน Pebble Beach Concours d’Elegance ปี 2018 สำหรับรุ่นนี้ได้มีการพัฒนาด้านวัสดุและเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยยิ่งขึ้น โดยเฉพาะส่วนที่เรียกว่า Chassis Carbon Fiber ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทั้งความแข็งแกร่งสูงและในขณะเดียวกันก็มีน้ำหนักเบาภายใต้รูปลักษณ์แบบรถสปอร์ตสุดหรูทั้งภายนอกภายใน อีกทั้งยังมีการยกระดับสมรรถนะเครื่องยนต์ที่ชื่อว่า Race-Prepared Version สำหรับคนที่ชอบความเร็วเสมือนได้ขับรถในสนามแข่งพร้อมทั้งสามารถขับขี่บนเส้นทางปกติทั่วไปได้ด้วย

McLaren 765LT เปิดตัวเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2020 เป็นรุ่นที่ได้รับความสนใจอย่างมากในด้านการพัฒนาสมรรถนะทุกๆ ด้านจากโครงสร้างของ 720S ตั้งแต่ น้ำหนักที่เบากว่า McLaren 720S ถึง 80 กิโลกรัม ส่งผลให้ความเร็วและแรงของสปอร์ตคาร์รุ่นนี้ สามารถทำอัตราเร่ง จาก 0-100 กม./ชม. ภายใน 2.8 วินาที ส่วนความเร็วสูงสุดของรถก็อยู่ที่ 330 กม./ชม. และเนื่องจากเป็นรุ่น Special Edition จึงจำกัดจำนวนผลิตและจำหน่ายทั่วโลกแค่ 765 คันเท่านั้น

และนี่ก็คือความน่าสนใจของ McLaren 720S ซุปเปอร์คาร์เจ้าแห่งความเร็วที่มีสไตล์เฉพาะตัวอย่างหนึ่งก็คือ การนำเทคโนโลยีที่ใช้กับรถแข่งฟอร์มูล่าวันมาพัฒนารถยนต์รุ่นต่างๆ เหล่านี้ ให้คนรักรถและรักความเร็วมีโอกาสได้สัมผัสกับซุปเปอร์คาร์ที่โดดเด่นด้านสมรรถนะความเร็วบนท้องถนนอย่างเร้าใจ

Categories
บทความทั่วไป รีวิว พรีวิว

Logitech G25 G27 G29 DFGT ต่างกันไหม ?

มาดูวิวัฒนาการของพวงมาลัยรุ่นยอดนิยมกัน

ในปี 2006 คือจุดเริ่มต้นยุคทองของจอยพวงมาลัย Logitech หลังจากได้ผลิตพวงมาลัยออกมาอย่างต่อเนื่อง พวกเขาได้ตีตราชื่อ “GT” จาก License เกมส์ยอดนิยม “Gran Turismo” ในรุ่นแรกของซีรีส์ Driving Force จากรุ่น “GT Force”(2001) พวกเขาได้สร้างมาตราฐานใหม่ให้กับจอยพวงมาลัย ในชื่อรุ่น Logitech G25

สำหรับเจ้าพวงมาลัยรุ่นนี้ ค่อนข้างได้รับความอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีความทนทานสูง ใช้วัสดุชั้นดีหุ้มหนังที่ตัวพวงมาลัยและคันเกียร์ แถมยังมีแป้นคลัชพร้อมเกียร์แยกมาให้ด้วย!

ซึ่งในยุคนั้นคู่แข่งสำคัญยังมีเพียงแค่ Fanatec เท่านั้น แต่ทว่า Fanatec ในตอนนั้นยังคุมเรื่อง Quality control ไม่ค่อยดีสักเท่าไร(แม้จะขึ้นชื่อว่าผลิตในเยอรมันก็เถอะ!) มีปัญหาจุกจิกในการใช้งานเยอะ แถมยังไม่ค่อยทนมือทนเท้า(ตีน)เหมือนรุ่นปัจจุบัน ทำให้ Logitech มองเห็นช่องว่างนั้นและอุดมันด้วยจอยพวงมาลัยราคา 299$ ซะเลย!

Logitech G25

ซึ่งสเปคสำคัญของเจ้า LogitechG25 ในยุคนั้น (ปี 2006) ถือว่าค่อนข้าง Hi-End พอสมควร(รวมไปถึงราคาด้วย)

Logitech G25 Specifications
-พวงมาลัยขนาด 11 นิ้ว (270mm) หุ้มด้วยหนังแท้
-สามารถหมุนได้ 900 องศา
-มีระบบ Force Feedback ทำงานด้วยมอเตอร์ 2 ตัว
-ทดกำลังด้วยระบบเฟือง
-มี 2 Paddleshifter ที่พวงมาลัย
-มีเกียร์แยก สามารถปรับเป็น Sequential Shifter หรือ H-Pattern ได้
-มีแป้นเหยียบ คลัช/เบรก/คันเร่ง (สปริงธรรมดา กดลงไปจังหวะเดียว)
-ใช้ Sensor แบบ Optical
-สามารถล๊อคโต๊ะได้ด้วย Clamp ในตัว หรือใช้ Hard mount ด้วย Screw/Bolt ขนาด M6 ได้

จัดว่าเป็นสเปคที่ค่อนข้างดีเลยทีเดียว ถ้าให้เทียบกับคู่แข่งที่เป็นสายพานอย่าง Fanatec ที่ขายแยกชิ้น และราคารวมทั้งชุดยังสูงกว่าในยุคนั้น (Fanatec Porsche 911 รวมทั้ง Set จะประมาณ 350$) ถึงแม้ G25 จะเป็นระบบเฟือง แต่ในเรื่องความสเถียรในการใช้งาน และมี Software ที่เป็นมิตรกับผู้บริโภค ทำให้จอยพวงมาลัยรุ่นนี้เข้าไปอยู่ในบ้านของผู้เล่นสาย Race Simulation ได้อย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน (เพราะมันไม่ยอมพังด้วยนั่นแหละ 😁)

Fanatec Porsche 911 Turbo Wheel

ถัดมาในปี 2007 ทาง Logitech ก็ได้ออกพวงมาลัยน้องใหม่ซึ่งกลายเป็นรุ่นยอดนิยมอีกรุ่น Logitech Driving Force GT (DFGT) ที่มีการลดสเปคลง เหลือเพียงมอเตอร์ตัวเดียว รวมถึงตัดเอาแป้นเหยียบ Clutch และเกียร์แยกออก ถึงกระนั้น แม้ออฟชั่นจะดูกระจ้อยร่อย แต่จอยรุ่นนี้ถือว่าทำการบ้านมาได้เป็นอย่างดี ให้ฟิลลิ่งที่แทบจะไม่ต่างกับ G25 รวมถึงเสียงรบกวนในการใช้งานด้วย (เสียงเฟืองขบกัน)

ที่สำคัญ ราคาเป็นมิตรกับผู้บริโภคมากด้วย (ราคาเปิดตัวราวๆ 150$) เรียกได้ว่า DFGT นี้เป็นจอยรุ่น Budget ที่ถูกและคุ้มค่าตัวมากที่สุดตลอดกาล จนแทบจะหาใครมาโค่นตำแหน่งนี้ลงไม่ได้เลย (ยกเว้นเขาจะโค่นมันลงด้วยตัวเอง จากการเลิกผลิตมันซะ เพราะการมาถึงของ PS4(2013) ที่จอยรุ่นนี้จะไม่สามารถ Support Platfrom PS4 และในที่สุด พวกเขาก็หยุดการผลิตลงไปในปี 2015 พร้อมกับ Logitech G27 )

มาถึง Logitech G27 ตัวยอดนิยมตลอดกาล(อีกแล้ว) ถึงขนาดเคยมีคนพูดว่า “ถ้าคุณเป็นแฟนเกมส์ Racing ตัวจริง ต้องมี G27 ติดบ้าน”

สำหรับเจ้าตัวนี้ได้รับการอัพเกรดเป็นระบบเฟืองแบบใหม่ “Helical Gear” หรือเฟืองเกียร์แบบตัดเฉียง ซึ่งสามารถลดเสียงรบกวนขณะใช้งานลงได้เยอะมาก โดยเฉพาะในตอนที่หักพวงมาลัยสู้แรง จะไม่มีเสียงดังฟี๊ดๆ แกร๊กๆ เหมือนอย่าง G25 และ DFGT แล้ว (แต่ก็ยังมีเสียงตอนกระแทกแรงๆอยู่บ้าง) แถมยังมีไฟ LED Shifter ที่ด้วยพวงมาลัยเพิ่มมาด้วย แต่ในรุ่นนี้ Logitech ตัดเอาระบบเกียร์ Sequential ออกไปซะแล้ว (แย่จัง)

Logitech G27

Logitech G27 Specifications
-พวงมาลัยขนาด 11 นิ้ว (270mm) หุ้มด้วยหนังแท้
-สามารถหมุนได้ 900 องศา
-มีระบบ Force Feedback ทำงานด้วยมอเตอร์ 2 ตัว
-ทดกำลังด้วยระบบเฟือง Helical Gear
-มี 2 Paddleshifter ที่พวงมาลัย
-มีเกียร์แยกแบบ H-Pattern Shifter
-มีแป้นเหยียบ คลัช/เบรก/คันเร่ง (สปริงธรรมดา กดลงไปจังหวะเดียว)
-ใช้ Sensor แบบ Optical
-มีไฟ LED Shifter ที่พวงมาลัย
-สามารถล๊อคโต๊ะได้ด้วย Clamp ในตัว หรือใช้ Hard mount ด้วย Screw/Bolt ขนาด M6 ได้

สำหรับฟิลลิ่งของ Force Feedback นั้น ไม่ต่างจาก G25 หรือ DFGT มากนัก (สำหรับคนที่ไม่เคยเล่นเลย จะแทบแยกไม่ออกครับ ว่ามันต่างกันยังไง) แต่สิ่งที่ได้อัพเกรดสำหรับรุ่นนี้ ที่มองเห็นได้ชัดเจน จะเป็นเรื่องของ H-Pattern Shifter ที่เปลี่ยนกลไกลใหม่ ให้รู้สึกแน่นขึ้นกว่าเดิม กับตัว Pad คันเร่งที่มีรูยึดเพิ่ม ที่สามารถปรับย้ายให้ห่างกันได้อีกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ในเรื่องของการ DIY สำหรับ G27 นั้นเรียกได้ว่ามีครบเครื่องมาก เพราะเป็นพวงมาลัยที่ค่อนข้างเป็นมิตรกับนัก DIY ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนพวงมาลัยเป็นพวงรถจริง หรือถอดแป้นเหยียบมาทำเป็นแบบกลับหัว หรือแม้กระทั้งการดัดแปลงวงจรเพื่อจ่ายระบบไฟเพิ่ม เพื่อเพิ่มแรง FFB และเปลี่ยนเบรกเป็นแบบ Load Cell

Load Cell Mod และแป้นกลับหัว

แต่สำหรับจุดด้อยของพวงมาลัยรุ่นนี้(รวมไปถึงรุ่นพี่อย่าง G25) ที่พบบ่อย มักจะเป็นในเรื่องของ Optical Sensor ที่ชอบหักหรือแตก ซึ่งหากใช้ไปนานๆ หรือเล่นจนร้อนมาก มักจะพบปัญหานี้กันทุกคน (ในปกติรุ่นนี้จะมีการผลิตออกมาเป็น 2 Gen ตัวแรกจะเป็นกล่องเขียวที่ใช้ Optical แบบ 60 รู และตัวรุ่นสองจะเป็นกล่องสีฟ้า ซึ่งใช้เป็น Optical แบบ 30 รู) ซึ่งเราสามารถรื้อมาเปลี่ยนอะไหล่จากที่เป็น Optical พลาสติกให้เป็นเหล็กได้

กล่องเขียวรุ่น 60 slot กล่องฟ้ารุ่น 30 slot
เปลี่ยนเป็นทองเหลืองไปเลย ใช้กันยาวๆ 😁

สำหรับเจ้าตัวนี้เรายังสามารถหาซื้ออะไหล่ได้ครับ ส่วนปัญหาอื่นๆจากการใช้งาน ก็จะมีกรณีที่ตัว Housing ของระบบเฟืองทดภายในแตกหัก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้จากการใช้งานที่รุนแรงเกินไป หรือนิสัยการชอบโหนตัวกับพวงมาลัยในระหว่างการลงไปนั่งครับ

และแล้วมาถึง Gen ล่าสุดอย่าง Logitech G29(PS4) และ Logitech G920(Xbox) ซึ่งผมจะให้นิยาม Gen นี้ว่า “รุ่นย้อมแมวขาย” 😂😂

Logitech G29 เหมี๊ยวๆ

หลังจากการเปิดตัวรุ่นนี้พร้อมกับการมาของ PS4 กับเกมส์ GT Sport ทำให้ทาง Logitech เลิกผลิตพวงมาลัยยอดนิยมอย่าง DFGT และ G27 ลงไป พร้อมทั้งขึ้นราคามาอีก 100$ และขายเกียร์แยก(ที่สเปคแย่กว่าเดิม)เพิ่มอีก และในล๊อตแรกๆที่ผลิต พบว่าตัวพวงมาลัยพังค่อนข้างสูงมากภายใน 1 ปี (หรือพังตอนหมดประกันพอดี) จนแทบจะกลายเป็นยุคมืดของ Logitech เลยทีเดียว

Logitech G29 Specifications
-พวงมาลัยขนาด 11 นิ้ว (270mm) หุ้มด้วยหนังแท้
-สามารถหมุนได้ 900 องศา
-มีระบบ Force Feedback ทำงานด้วยมอเตอร์ 2 ตัว
-ทดกำลังด้วยระบบเฟือง Helical Gear
-มี 2 Paddleshifter ที่พวงมาลัย
-มีเกียร์แยกแบบ H-Pattern ได้ (แต่ต้องซื้อเพิ่ม)
-มีแป้นเหยียบ คลัช/เบรก/คันเร่ง (สปริงเบรก มีลูกยางเพิ่มการเหยียบเป็น 2 ระดับ)
-ใช้ Sensor แบบ Hall effect Sensor
-มีไฟ LED Shifter ที่พวงมาลัย
-สามารถล๊อคโต๊ะได้ด้วย Clamp ในตัว หรือใช้ Hard mount ด้วย Screw/Bolt ขนาด M6 ได้
-รองรับ PS4/PS5

ใช่แล้วครับ สเปคนั้นแทบจะไม่ต่างกับรุ่นที่ออกมาในปี 2006 เลย ยกเว้นตัวพวงมาลัยที่เพิ่มความเป็น DFGT ลงไป พร้อม Sensor ใหม่แบบแม่เหล็ก(Hall Sensor) กับสปริงเบรกที่มีการเพิ่มลูกยางเข้าไป(ให้เป็น 2 จังหวะ) สำหรับตัวผมนั้นค่อนข้างที่จะผิดหวังในรุ่นนี้มาก เพราะแต่ก่อนแบรนด์ Logitech นี้แทบจะเป็นขวัญใจคนยาก(อย่างผม) กลับเพิ่มราคามาขนาดนี้ แต่ไม่ได้พัฒนาในเรื่องของแรง FFB เลย แถมยังเอาเกียร์แยกมาขายเพิ่มอีก

ลูกยางเดิมก็ไม่ค่อยดี ซื้อของ Mod ใส่ดีกว่า 5555

#WARNINGในบทความต่อไปนี้อาจะเต็มไปด้วย HateSpeech เกี่ยวกับผลิตภัณท์และแบรนด์นี้โปรดใช้วิจารณญานในการอ่านให้มากๆ ถถถถถ

วันแรกที่ผมได้ลองสัมผัสมัน ผมเคยรีวิวไว้ว่ามันแย่มาก “อาจเป็นเพราะพวงมาลัยมันยังเพิ่งจะออกใหม่ๆ Firmware เลยยังไม่ค่อยดีล่ะมั้ง “ (ผมคิดในใจ) เลยทำให้ฟิลลิ่งมันไม่ต่างจากรุ่นเก่า จนกระทั่งในปี 2020 ผมยังสัมผัสได้เลยว่าฟิลลิ่งมันไม่มีการพัฒนาใดๆขึ้นมาเลย (5 ปีแล้วน๊าาาา!) ทั้งที่มันอัพเกรดจาก Optical Sensor เป็น Hall Effect (แม่เหล็ก) แล้ว มันน่าจะให้ความละเอียดได้มากกว่านี้เซ่!

แต่แล้วผมก็ได้ตระหนักว่า ในความเป็นจริงนั้น สิ่งที่ทาง Logitech ควรอัพเกรดก็คือ ระบบเฟืองนั่นเอง!

“เพราะเจ้าระบบเฟืองนี่แหละที่เป็นตัวร้าย

GABBBB

ด้วย Mechanic การทำงานของมัน ระบบเฟืองจะมี GAP เล็กๆในระบบ ซึ่งทำให้เอกลักษณ์ของ Force Feedback พวงมาลัยประเภทนี้ มีความโหวงเหวง ว่างเปล่าในช่วงของ Deadzone เหมือนกันหมด (ช่วงที่พวงมาลัยตั้งอยู่ตรงกลาง) ซึ่งในปัจจุบัน มีผู้คนเริ่มสร้างจอยพวงมาลัยแบบ DIY จำลอง FFB กันขึ้นมาเองได้แล้ว ผมเห็นหลายคนใช้ Optical Encoder เป็น Sensor ให้พวงมาลัย และใช้สายพาน กลับพบว่าไม่มี Deadzone ที่โหวงเหวงเหมือนระบบเฟือง ซึ่งตรงนี้ผมมองว่าทาง Logitech ควรที่จะหันมามองระบบนี้มากกว่าระบบเฟืองได้แล้ว เพราะในปัจจุบันคู่แข่งใหญ่อย่าง Fanatec หรือ Thrusmaster ได้เปลี่ยนไปใช้ระบบสายพานกันเกือบหมดทุกรุ่นแล้ว (แน่นอนว่าแหละว่าระบบเฟืองอาจจะอยู่ได้คงทนกว่า แต่สายพานถ้ามันหย่อนย้อยก็ถอดเปลี่ยนได้นิ?!)

Fanatec Porsche 911 เขาใช้กันมาเป็นสิบปีแล้วนะ!

จุดนี้ทำให้ผมมองว่า Logitech กำลังก้าวผิดทางจากการที่พยายามขายของที่แพง แต่ได้ประสิทธิภาพเท่าเดิม(หรือลดลง) และพยายามโฆษณาว่ามันได้รับการอัพเกรด (รวมไปถึงการเลิกทำจอยพวงมาลัยราคาถูกอย่างรุ่น DFGT) ซึ่งตอนนี้ Logitech ได้ออกผลิตภัณท์ใหม่มาอีกตัวเป็นรุ่น G923 (Trueforce) ที่ยังใช้ระบบเฟืองทดเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนระบบภาคจ่ายไฟใหม่ และ Software Engine ใหม่ที่เรียกว่า “Trueforce”(lulforce) ซึ่งหลายเจ้าที่ได้รีวิวไปนั้น ยังบอกว่าฟิลลิ่งทั่วไปยังไม่ต่าง มีเพียงแค่ตอนเปิดระบบ Trueforce แล้วมีแรงบางอย่างเพิ่มเข้าไปบ้างแค่นั้น ไม่ได้ทำให้มันแตกต่างชัดเจนจากระบบเก่าๆเลย

ซึ่งในท้ายนี้ผมคงอยากจะบอกทุกท่านว่า ถ้าหากท่านกำลังมองหาจอยพวงมาลัยสักมาใช้สักตัว และกำลังมองหา “Logitech” ขอให้ท่านเลือกดูแค่ Platform ก่อนว่าท่านจะเล่นกับอะไร “PC/PS4/PS5/Xbox”

ถ้าหากท่านใช้ PC ก็ขอให้มองหาตัวเลือกที่เป็น G27 จะดีกว่า เพราะฟิลลิ่งโดยรวมนั้นไม่ต่างกัน และยังสามารถ Mod ได้ง่าย เพราะว่าของ Mod หาง่าย และมีขายกันทั่วไปในตลาด ส่วนท่านใดที่ใช้ Console ก็ขอให้เลือกใช้จอยพวงมาลัยตามสเปคเขาแนะนำก็แล้วกันครับ

ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการเล่นจอยพวงมาลัย

แอดเหมียว

Categories
บทความทั่วไป รีวิว พรีวิว

เจาะลึก/รีวิว Logitech Driving Force GT

สวัสดีครับ ช่วงนี้กลุ่ม Race Sim กำลังคึกคัก เริ่มมีคนสนใจศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับจอยพวงมาลัยที่มีระบบ Force Feedback กันมากขึ้นจนทำให้ตอนนี้ราคาจอยพวงมาลัยเพิ่มขึ้นมากพอสมควร (รวมไปถึงจอยพวงมาลัยที่ไม่มี Force Feedback ด้วย) ผมจึงอยากให้ผู้เล่นใหม่ทุกท่าน ได้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของจอยพวงมาลัยแต่ละตัวก่อนซื้อกันด้วย เพื่อไม่ให้เสียเงิน และเสียเวลาไปกับจอยที่ไม่มี Force Feedback กันครับ

เอาล่ะครับมาเริ่มกันเลยดีกว่า

ในวันนี้เรากำลังจะพูดถึงผลิตภัณท์จอยพวงมาลัยที่ประสบความสำเร็จชิ้นหนึ่งของโลกเลยก็ว่าได้ และเจ้าตัวนี้เรียกได้ว่าเป็นตัวครูของใครหลายๆคน รวมไปถึงระดับโปรเพลเยอร์เลยทีเดียว เจ้าพวงมาลัยตัวนี้ เคยเป็นรุ่นที่ราคาคุ้มค่าที่สุดในยุคหนึ่ง เพราะมีระบบ Force Feedback (ต่อจากนี้ผมจะเรียกว่า FFB นะ) ที่พัฒนามาเป็นแบบสมัยใหม่ และให้การหมุนพวงมาลัยได้ถึง 900 องศาเลยทีเดียว

Logitech Driving Force GT

หลังการกำเนิดจอยพวงมาลัย FFB ในยุคใหม่ของ Logitech ทางบริษัทก็ได้ผลิตพวงมาลัยเข้าสู่ตลาด Mass หลายรุ่นด้วยกัน ซึ่งหนึ่งปีก่อนหน้านั้น ทางบริษัท Logitech ได้ผลิตจอยรุ่นเรือธงของแบรนด์ในชื่อรุ่น Logitech G25 ซึ่งตัวนี้ได้ออกมาพร้อมระบบ FFB แบบใหม่ที่ทรงพลังกว่าเก่า และยังมาพร้อมกับอุปกรณ์ที่ครบเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นแป้นเหยียบที่มีคลัชมาให้ หรือเกียร์แยกที่สามารถใช้ได้ 2 ระบบในชิ้นเดียว คือ “H-Shifter” และ “Sequential Shifter” แน่นอนว่าหลังจากนั้นทางบริษัทได้ตัดสินใจผลิต”รุ่นล่าง”ที่ชื่อว่า Logitech Driving Force GT ซึ่งเจ้านี่ได้รับการอัพเกรดขึ้นในเรื่องของระบบกลไกล FFB ใหม่จากรุ่น Logitech G25 ที่รองรับการหมุนรอบได้ 900 องศาสมบูรณ์ จากรุ่นเก่าที่สามารถหมุนได้เพียง 200 องศา (แต่สามารถปรับเป็น 900 ได้เช่นกัน)

สำหรับรหัสซีรีส์ที่ลงท้ายชื่อด้วยคำว่า ” GT “ นั้น มันต้องผลิตมาเพื่อเกมส์ Gran Turismo อย่างแน่นอน (แต่จริงๆใช้ได้ทุกเกมส์นะ) พวงมาลัยรุ่นนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง Logitech และ Polyphony Digital เข้ามาทำการผลิตเพื่อเกมส์ Gran Turismo 5 ใน Playstation 3 (ใครที่อยากรู้ความเป็นมา สามารถเข้าไปอ่านในนี้ได้เลยครับ http://blog.logitech.com/2009/03/27/the-making-of-the-logitech-driving-force-gt )

สเปคของ Logitech Driving Force GT จะมีดังนี้

-หมุนได้ 900 องศา
-ตัวพวงมาลัยขนาด 11 นิ้ว
-ตอบสนอง Force Feedback ด้วยมอเตอร์ 1 ตัว
-ทดกำลังมอเตอร์ด้วยระบบเฟืองเกียร์
-มี Sequential Gearbox (ย้ายฝั่งไม่ได้)
-มีแป้นเหยียบเบรก/คันเร่ง
-เชื่อมต่อทางสาย USB และมี Adaptor ไฟเลี้ยง 24v 1 เส้น

นับตั้งแต่สมัยยุค Driving Force Pro ซึ่งเป็นพวงมาลัยที่ใช้กับ Playstation 2 กับเกมส์ Gran Turismo 4 มีคนกลุ่มนึงลองเอาพวงมาลัยต่อกับ PC ปรากฏว่ามันเกิดใช้งานได้ ซึ่งชาว Race Sim ในยุคนั้นก็ไม่ได้รอช้า ลองเอาเจ้า DFGT นี่ต่อเข้าไปกับ PC ปรากฏว่ามันใช้งานได้ครับ ! โดยเริ่มแรกยุคนั้น Logitech ยังไม่ได้ออก Driver ตัวรองรับมาสำหรับ PC แต่พอเสียบเข้าไป กลายเป็นมองเห็นว่าเป็น Driving Force Pro ซะงั้น และปุ่มต่างๆ ยังใช้ไม่ได้ครบ จนกระทั้ง Logitech ออก Driver มานั่นแหละ จึงทำให้ DFGT สามารถใช้งานได้ครบทุกฟังชั่น รวมไปถึงปุ่มหมุนสีแดงด้วย!

นี่จึงเป็นการเริ่มต้นตำนานใหม่ของพวงมาลัย 900 องศาราคาประหยัดจาก Logitech สำหรับคอเกมส์แข่งรถใน PC เลย (ในสมัยนั้นถ้าผมจำไม่ผิด ช่วงปี 2011 ผมซื้อมาประมาณ 4,900.- แต่มาเจอโปรลดราคาในตอนหลังแค่ 3,900.- เอง) ซึ่งในปัจจุบัน DFGT ได้หยุดไลน์การผลิตลงไปแล้วในช่วงปี 2016 จากการมาถึงของ PS4 และ Logitech G29

สำหรับเรื่องของหน้าตาและวัสดุในการผลิต

สำหรับเจ้า DFGT นั้นมากับพวงมาลัยหุ้มยางขนาด 11 นิ้ว ใช้การยึดโต๊ะแบบมาตราฐานของ Logitech ไม่มีรูสำหรับยึดแบบ Hard Mount กับรู Cockpit ทั้งตัวแป้นเหยียบและพวงมาลัย แต่ตัวแป้นเหยียบมีหนามเตย สำหรับยึดเกาะกับวัสดุประเภทผ้าหรือพรมและมีตัวถ่วงน้ำหนักอยู่ด้านล่างอีก 1 จุด สำหรับกันหงาย/กระดก แต่มันก็ไม่เหมาะกับการยึดกับ Cockpit สักเท่าไร ซึ่งคุณอาจจะต้องใช้เทปกาว 2 หน้ามาช่วยในการยึดติด หากคุณต้องการติดตั้งกับชุด Cockpit แบบแน่นๆ

หมุนๆ แล้วก็ยึดขอบโต๊ะไปเลย

สำหรับฟิลลิ่งการเหยียบแป้นเหยียบนั้นค่อนข้างที่จะเบา เพราะสปริงค่อนข้างทำมาอ่อนตั้งแต่โรงงาน แต่ยังสามารถ Mod เพิ่มความแข็งได้นิดหน่อย (ได้แข็งประมาณแป้นเหยียบของ G27) ซึ่งสามารถดูได้ใน Link นี้ครับ https://www.overclockzone.com/forums/showthread.php/1872969

แป้นเหยียบที่ได้ต้นแบบมาจากรุ่นพี่
ด้านล่างมีเหล็กถ่วงน้ำหนัก ทำให้เหยียบแล้วไม่กระดก
หนามเตยแบบพับเก็บได้ สำหรับยึดกับพรม

สำหรับตัวเกียร์นั้น พวงมาลัยนี้มีให้มา 2 ระบบ เป็นแบบ Paddle Shift และแบบ Sequential Gearbox ซึ่งตัวเกียร์ SQ นั้นจะอยู่ทางด้านขวาและไม่สามารถย้ายมาไว้ฝั่งซ้ายได้ ส่วนตัว Paddle Shift นั้นจะหลบอยู่ด้านหลังพวงมาลัย ไม่ยื่นออกมาแบบพวงมาลัยรุ่นปัจจุบันอื่นๆ ซึ่งทำให้การกดใช้ Paddle Shift นั้นค่อนข้างลำบากพอสมควร

Sequential Gearbox
Paddle Shift ที่น่าจะเรียกว่าปุ่มกดซะมากกว่า

มาถึงในส่วนของ FFB ค่อนข้างให้การตอบสนองทั่วไปได้ดี สำหรับระบบ FFB ตัวนี้ยังใช้กันมาถึงรุ่นใหญ่ของ Logitech ในปัจจุบัน แต่จะต่างกับรุ่นใหม่ๆตรงที่ภายในยังเป็นระบบเฟืองธรรมดาอยู่ แต่รุ่นใหม่ๆตั้งแต่ G27 เป็นต้นไป ข้างในจะเป็นระบบเฟืองแบบตัดเฉียงแล้ว ซึ่งทำให้เสียงรบกวนระหว่างการเล่นนั้นลดลงไปพอสมควร ส่วนข้อเสียของระบบ FFB ในแบบเฟืองนั้นคือเรื่องของ GAB ในระบบ ที่จะทำให้ตรงจุดกึ่งกลางระหว่างการขับมีอาการเหวอเล็กน้อย และยังมีเสียงรบกวนแบบฟื้ดๆ แกร๊ดๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งถ้าให้เทียบกับระบบสายพานในจอยรุ่นใหม่ๆอาจจะทำให้รู้สึกหงุดหงิดและรำคาณได้บ้าง

ระบบเฟืองเกียร์ทดรอบ

ถ้าให้เทียบกับจอยของ Logitech ในรุ่นใหม่ๆอย่างพวก G27 หรือ G29/G920 ตัว FFB ในรุ่นนี้ถือว่าแทบไม่ต่างกัน หรือแทบแยกไม่ออก ถ้าไม่ฟังเรื่องเสียงในการรบกวน และความเร็วรอบ(RPM)ในการตีพวงมาลัยกลับ

สำหรับในส่วนตำแหน่งการวาง Sensor ของเจ้า DFGT นั้นจะไม่ได้วางไว้ด้านหลังมอเตอร์แบบรุ่นที่มี 2 มอเตอร์(G25/G27/G29) ทำให้ไม่ค่อยเจอปัญหา Sensor หักแบบรุ่นใหม่ๆสักเท่าไร

มอเตอร์เดียวแต่ให้พลังเท่ารุ่นใหญ่อย่าง G25/G27 ได้ !

และในส่วนการผลิตนั้นตัวพวงมาลัยจะออกมาเป็น 2 รุ่น ซึ่งรุ่นเก่าจะเป็นกล่องสีเขียวและรุ่นใหม่จะเป็นกล่องสีฟ้า-ดำ(Minorchange) และจะใช้ Optical Encoder คนละแบบกัน ซึ่งแบบเก่ามีรูสำหรับอ่านค่าตำแหน่ง Sensor 60 Slot และรุ่นใหม่ จะลดจำนวนรู Sensor ลงเหลือเพียง 30 Slot เพื่อให้มีความแข็งแรงทนทานมากกว่าเดิม

หน้าตา Optical Encoder แบบ 60 Slot
Optical Encoder สำหรับเปลี่ยนแบบทองเหลือง หาซื้อมาเปลี่ยนเองได้ไม่ยาก ทนทานสุดๆ

เอาละครับมาดูสรุปกันเลยดีกว่า

ข้อดี
-พวงมาลัยมีขนาด 11 นิ้ว และหุ้มด้วยยางคุณภาพสูง
-หมุนได้ 900 องศา
-ปุ่มเยอะดี แถมมีแตรด้วย
-Force Feedback เหมือนรุ่นสูงๆของ Logitech ในปัจจุบัน
-มีเกียร์ Sequential และ Paddle Shift
-คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป

ข้อเสีย
-แป้นเหยียบเบามาก
-Paddle Shift กดยาก
-Sequential Gearbox ไม่สามารถย้ายฝั่งได้
-รอบการตีกลับ(RPM)ช้ากว่ารุ่นใหญ่ของค่ายนิดหน่อย
-ไม่เหมาะกับการใช้กับ Cockpit เหมาะกับยึดโต๊ะมากกว่า
-มี Gab ในระบบระบบเฟือง
-ไม่รองรับ PS4

สรุปว่าเป็นตัวที่คุ้มค่า ถ้าคุณยังหามือสองได้ ซึ่งราคามือสองที่ถูกสุดเท่าที่เคยเห็นจะอยู่ที่ราวๆ 2,xxx – 3,xxx ครับ สามารถเอามาใช้เป็นตัวครูสำหรับเริ่มเล่น Race Simulator ได้เลย แต่จะติดอยู่เรื่องนึง ถ้าหากจะเอาไปใช้งานก็คงใช้ได้แค่กับทาง PC เท่านั้นครับ เพราะตัวพวงมาลัยได้ถูกลอยแพ จากระบบคอนโซลตั้งแต่ยุค PS4 แล้ว

เอาเป็นว่าขอฝากไว้อีกอย่างนึงนะครับ “จอยเกม ไม่ได้ลอง ไม่ได้เล่น อย่าซื้อ” (โดยคุณ Beaver_XT)

วันนี้ต้องขอลาทุกคนไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า สวัสดีครับ //แอดเหมียว

ปล.บทความนี้ได้แรงบัลดาลใจ และการเริ่มต้นเล่น Sim จากท่าน Beaver_XT (ผู้ดึงผมเข้าสู่วงการนี้) สนใจอ่านรีวิวที่ท่านบีเวอร์รีวิวไว้ได้ที่นี่ครับ https://www.overclockzone.com/forums/showthread.php/1041809

กล่องซ้ายสีเขียวเป็นรุ่นแรก Optical 60slot กล่องขวาเป็นรุ่นใหม่ 30Slot
Categories
บทความทั่วไป รีวิว พรีวิว

วิวัฒนาการของพวงมาลัย Logitech

Logitech กับ Logicool อันเดียวกันนะ

พูดถึงจอยพวงมาลัยยี่ห้อที่ทุกคนคงจะคุ้นหูมากที่สุด ก็คงจะหนีไม่พ้นเจ้าพวงมาลัยยี่ห้อดัง ” Logitech “ ที่แฟนๆชาว Racing น่าจะเคยได้ลองสัมผัสหรือเคยได้ยินชื่อกันเป็นแน่แท้ แต่ประวัติการเดินทางอันยาวนานของไลน์การผลิตจอยพวงมาลัย หรือด้านการพัฒนาด้าน FFB ของพวงมาลัยยี่ห้อนี้หลายๆคน คงไม่ค่อยได้ยินกันแน่ๆ เราไปดูกันดีกว่าครับ ว่าเจ้า ” Logitech ” หรือ ” Logicool “ นั้น มีที่มาที่ไปอย่างไรกันบ้างครับ

ขับขี่ปลอดภัย ใช้ระบบ Simulator

ในยุคแรก

Logitech ได้สร้างจอยพวงมาลัยออกมา แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมสักเท่าไร ในชื่อรุ่น Logitech Wingman Formula โดยออกทั้งหมดสามสี เหลือง/แดง/ดำ และมีระบบ FFB แรงต้านและแรงตอบสนองแบบการสั่น แต่ทว่าในบางตัวนั้นยังใช้การเชื่อมต่อแบบ Serial Port(โบราณ)อยู่ ไม่มี USB Port (ช่วงนั้นเป็นยุคที่ USB กำลังเริ่มใช้กันยุคแรกๆ) สำหรับตัวพวงมาลัยหมุนได้ 200 องศา

Logitech Wingman Formula ซีรีส์

Logitech Wingman Formula (1998)

ซึ่งในปีถัดมาได้มีการพัฒนาต่อในรุ่น GP ซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อแบบ USB ล้วนๆเลย แต่ผลิตออกมามีแต่สีเหลือง มีแป้นเหยียบที่หน้าตาดีขึ้น มี USB Port แท้ๆแบบในยุคใหม่แต่ยังคงหมุนได้ 200 องศาเช่นเดิม

Logitech Wingman Formula GP (1999)

ในปีต่อมาทำออกมาเฉพาะสีแดง มี FFB และ USB เสียบคอมเหมือนรุ่นปีที่แล้ว

Logitech Wingman Force GP (2000)

ยุค Driving Force ซีรีส์

Logitech Driving Force หรือ GT Force (2001)
คราวนี้ Logitech ได้รีแบรนด์จากซีรีส์ของ Wingman ไปสู่ Driving Force ด้วยการเปลี่ยนเป็นพวงมาลัยสีฟ้า พร้อมกับตีตราโลโก้ ” Gran Turismo ” นับว่าเป็นพวงแรกที่ได้ Official ของเกมส์ Gran Turismo (ตอนนั้นภาค 3)(PS2) มี USB ระบบ FFB หมุน 200 องศา และยังมีเกียร์ Paddle Shift ติดหลังพวงมาด้วย (รุ่นนี้มีตัว Limited ที่เป็นกล่องแบบ Initial D ด้วย)

Logitech Driving Force หรือ GT Force

Logitech Momo (2002)
คราวนี้เป็นทางของฝั่ง PC บ้าง เพื่อไม่ให้น้อยหน้าทางฝั่ง Playstation ทาง Logitech ได้ขอลิขสิทธิ์จากทาง MOMO มีการพัฒนาระบบ FFB ลงใน PC เช่นกัน และมีการเพิ่มเกียร์ Sequential ที่สามารถเลือกฝั่งในการติด (ซ้าย-ขวา) พัฒนาแป้นเหยียบขึ้นอีกระดับจาก Driving Force พร้อมทั้งปรับปรุงจุดยึดพวงด้านบนเป็นแบบยึด 3 จุดด้วย พวงมาลัยยังคงหมุนได้ 200 องศาเหมือนเดิม ขนาดเส้นรอบวงพวงมาลัย 10 นิ้ว

Logitech Momo

Logitech Speed Force Feedback (2002)
คราวนี้ได้ออกพวงมาลัยมาสำหรับค่ายเกมส์ Nintendo อย่าง Gamecube ระบบภายในยังแบบ FFB ยุคเก่าเหมือนรุ่นพี่อย่าง Momo และ Driving Force

มีแป้นเหยียบมาให้ด้วยนะ แต่หารูปสวยๆไม่เจอ ยังคงใช้แป้นแบบเดิมกับรุ่นเก่าๆ

Logitech Nascar Racing (2004)
อันนี้ออกแบบมาให้ใช้ได้ทั้ง 3 Platform ทั้ง PC/PS2 และ Xbox แต่ยังคงใช้ระบบ FFB เดิมๆจากรุ่นพี่อยู่เช่นกัน

Logitech Nascar Racing

Logitech Driving Force Pro (2004)
ด้วยการมาของ Gran Turismo 4 ตัวพวงมาลัย Official ของ Logitech ก็ได้ออกมาในเวอร์ชั่นพัฒนาใหม่ที่สามารถ(ปลดล๊อค)หมุนได้ 900 องศา จากเดิมที่พวงมาลัยที่หมุนได้เพียง 200 องศา นับว่าเป็นก้าวใหม่ของวงการจอยพวงมาลัยเลยทีเดียว (แต่เอาไปเล่นกับ GT4 มันไม่รองรับระบบ 900 องศา ต้องปรับโหมดไป 200 องศาเท่านั้น 555+) สำหรับเจ้าตัวนี้มียังคงใช้พวงมาลัยขนาด 10 นิ้ว มีเกียร์ Paddle Shift และมีเกียร์ Sequential ต้นแบบที่ยังใช้กันต่อมาถึงรุ่น DFGT เลย (รุ่นนี้มีตัวที่เป็นกล่องแบบ Sega Rally ด้วย)

Logitech Driving Force Pro

Logitech Driving Force EX PS3(2006)
ด้วยการเปิดตัวของ Playstation 3 ก็ได้ถึงเวลาลอยลำพวงมาลัยตัวเก่าซึ่งคราวนี้สามารถหมุนได้แค่ 200 องศาเท่านั้น(อ้าวว) กับพวงมาลัย ขนาด 10 นิ้วเท่าเดิม

Logitech Driving Force EX

Logitech Driving Force FX Xbox360 (2006)
เหมือนตัวข้างบนทุกอย่าง ยกเว้นสามารถใช้กับ Xbox360 ได้

Logitech Driving Force FX

Logitech G25 (2006)
และแล้วก็ได้เข้าสู่ยุคทองของพวงมาลัย Logitech คราวนี้มาแบบ Option จัดเต็มพวงมาลัยหุ้มหนัง มีเกียร์แยกที่สามารถปรับเป็น H-Shifter หรือ Sequential ได้ในอันเดียวกัน แถมยังมีแป้นเหยียบพร้อมคลัช มากับระบบ FFB ระบบยุคใหม่ (ยังใช้ถึงปัจจุบัน) พวงมาลัยหมุนได้แบบ 900 องศาสมบูรณ์ (FFB ไม่เบาลงเหมือนพวก Driving Force Pro)และน้ำหนักขึ้นชกของพวงมาลัยในรอบนี้ 11 นิ้วไปเลยจ้าาา

Logitech G25

Logitech Driving Force GT (2007)
คราวนี้รุ่นเล็กมีพัฒนาระบบ FFB บ้าง ให้ก้าวกระโดดไปกว่าตัวเก่า (Driving Force Pro) เรี่ยวแรงเยอะกว่า หมุนไวกว่า ทำให้รายละเอียดออกมาได้เยอะกว่า พอๆกับรุ่นพี่ G25 เลยทีเดียว น้ำหนักขึ้นชกที่ 900 องศา / 11 นิ้ว เป็นรุ่นที่นิยมแพร่หลายมากกกกก เป็นตัวเริ่มต้นที่คุ้มค่าที่สุดในยุคนี้แล้ว (ถ้ายังหาได้)

Logitech Driving Force GT

Logitech Wii Speed Force (2008)
รุ่นที่ใช้ Wireless กับเครื่อง Wii ได้ แต่ไม่มีแป้นเหยียบ ?? WTF

Logitech Wii Speed Force

Logitech Driving Force Wireless (2008)
เหมือนกะไอ้ข้างบนนั่นแหละ ไม่มีแป้นเหยียบ แต่เอาไว้ต่อเล่น Wireless กับ PC หรือ PS3 ได้

Logitech Driving Force Wireless

Logitech G27 (2010)
ตัวยอดนิยมตลอดกาลอีกแล้ว ถึงขนาดเคยมีคนพูดว่า “ถ้าคุณเป็นแฟนเกมส์ Racing ตัวจริง ต้องมี G27 ติดบ้าน” ตัวนี้ได้รับการอัพเกรดใหญ่เป็นระบบเฟืองแบบตัดเฉียง เพื่อลดเสียงรบกวนขณะขับ (แต่เวลาชนกำแพงหรือกระแทกอะไรหนักๆก็ยังมีเสียงดังรบกวนบ้าง) มีเพิ่มไฟ LED Shifter ที่ตัวพวง แต่ว่าๆๆ เกียร์ Sequential มันหายไปแล้ว… (อ้าวว ??) ยังคงใช้การหมุนที่ 900 องศาเท่าเดิม ส่วนตัวพวงก็ 11 นิ้วนะจ้ะ

Logitech G27

Logitech G29 (2015)
และแล้วก็ถึงรุ่นล่าสุด.. การมาของตัวนี้ทำให้ DFGT และ G27 ต้องหยุดผลิตไปเพราะพวงมาลัยรุ่นเก่าๆจะไม่ได้รับรองกับระบบ PS4 ซึ่งรุ่นนี้ในกล่องไม่มีเกียร์แถมมาให้ แถมราคาแพงกว่าเดิมด้วย ระบบก็ยังคงใช้แบบเดียวกับ G27 เพิ่มเติมคือเปลี่ยนจาก Optical Sensor เป็นแบบ Hall Effect Sensor และมีปุ่มเยอะขึ้นแบบ DFGT (เหมือนเอามารวมร่างกัน) และแป้นเหยียบมีการใส่ลูกยางเพิ่มเข้าไปเพื่อให้คล้ายกับแป้นเหยียบ Load Cell (แต่ก็ยังไม่ดีเท่า แถมแข็งเกินไปด้วย) และถ้าอยากใช้เกียร์แยกต้องไปซื้อเพิ่มเท่านั้น หรือถ้ามีเกียร์ของรุ่นเก่าก็สามารถใช้เกียร์ของ G25/G27 ของเดิมใส่ได้อยู่นะ..

Logitech G29

Logitech G920 (2015)
เหมือนตัวข้างบนแต่ใช้กะ PC และ Xbox

Logitech G920 (2015)

Logitech G Driving Force H-Shifter

เอาละครับก็จบกันไปแล้วสำหรับประวัติของจอยพวงมาลัย Logitech สำหรับใครที่กำลังมองหาของมือสองอยู่ แอดเหมียวแนะนำว่าให้เริ่มมองๆตั้งแต่รุ่นยุคใหม่อย่าง G25 หรือ Driving Force GT ขึ้นไปนะครับ เพราะจะเป็นรุ่นที่ระบบ FFB ยังคงเป็นระบบปัจจุบันอยู่ แต่ถ้าเป็นรุ่นเก่าๆ อาจจะให้การตอบสนองได้ไม่ดีเท่าระบบใหม่ๆนะครับ และที่สำคัญคือเรื่องของ Driver ที่อาจจะไม่รองรับ Windows 10 อีก ยังไงก็ขอให้ลองสอบถามเพื่อนๆในกลุ่มดูอีกทีก่อนซื้อขาย เพื่อให้ไม่เสียเงินและเวลาฟรีกันนะครับ

ขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ ขอบคุณครับ //แอดเหมียว

Categories
บทความทั่วไป รีวิว พรีวิว

อย่าเพิ่งซื้อจอยพวงมาลัย ถ้าคุณยังไม่ได้อ่านบทความนี้ !

ใครขี้เกียจอ่าน ดูคลิปได้เลยจ้ะ

เริ่มต้นเล่น Race Simulator (Basic&Advance)

เกมส์ Race Simulator เริ่มได้รับความนิยมและรู้จักเป็นวงกว้าง เนื่องจากมีผู้พัฒนาเกมส์หลายค่ายเริ่มสนใจตลาดทางด้านนี้มากขึ้น

อยากไปซิ่งแต่เมียไม่ให้

โดยในปัจจุบันนั้นมีอยู่ 3 Platform ใหญ่ๆ ที่มีการพัฒนาเกมส์อย่างต่อเนื่องคือ PC / Playstation / Xbox ซึ่งในแต่ละ Platform ก็มีเกมส์ที่ Exclusive เด่นๆ เฉพาะ ฝั่ง ของตัวเองเช่นทาง PC จะมี iRacing, RaceRoom และ Playstation จะมี Grand Tourismo, Drive Club และทาง Xbox ก็จะเป็นเกมส์ Forza Motorsport, Forza Horizon และนอกจากนั้นยังมีอีกหลายเกมส์ที่ลงอยู่ใน Platform มากกว่าหนึ่งอย่างเช่น Project Cars, Assetto Corsa, Dirt Rally เป็นต้น

Grand Tourismo Sport PS4

สำหรับข้อแตกต่างกันระหว่าง Platform นั้นจะเป็นเรื่องของอุปกรณ์ Hardware ที่รองรับ พร้อมกับฟังก์ชั่นการอัพเกรดที่แตกต่างกัน ถ้าเป็นเครื่องตระกูล Console อย่าง PS/Xbox นั้นอาจจะมีอุปกรณ์เสริมที่น้อยกว่าทางฝั่งของ PC เพราะทางฝั่ง PC นั้นมี Input/Output ที่มากกว่า สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลายชนิด สามารถต่อใช้งานได้แบบ 3 จอ หรือมากกว่านั้นและยังรองรับอุปกรณ์ประเภท DIY ไม่ว่าจะเป็นชุดเกียร์ Custom, เสริมเกจวัดรอบ, แป้นเหยียบไฮดรอลิก, Realtime Telemetry สำหรับนักแข่ง, ไปจนถึงระบบ Motion Simulator เต็มรูปแบบเลยทีเดียว

Driver Analysis แบบเดียวกับที่ทีมแข่งใช้งานจริง

ผู้ที่เริ่มต้นเล่นควรมองหาอะไรก่อน ?

ผมอยากให้ทุกคนเริ่มจากสิ่งที่มีอยู่รอบๆตัวก่อน ไม่ว่าจะเป็นโน๊ตบุ๊คสักเครื่อง หรือเครื่องเล่น Console (PS3/PS4/Xbox) แล้วลองหาเกมส์ Simulator มาใช้เล่นกับเมาส์ คีบอร์ด หรือจอยสติ๊กก่อนครับ

เพราะบางทีทุ่มเงินเข้าไปสักก้อนเพื่อซื้อจอยพวงมาลัยและอุปกรณ์เทพๆ กับการคาดหวัง(ที่สูงเกินไป)ว่ามันจะสมจริงถึงขนาดที่คุณจะเล่นครั้งแรกแล้วรู้สึกโอเคไปกับมัน แต่ในบางคน..อาจจะไม่รู้สึกเช่นนั้นโดยเฉพาะคนที่เคยขับรถจริง หรือแข่งรถจริงมาก่อน

ใช่! ถ้าผมเป็นพ่อค้า ผมอาจจะบอกคุณว่าจอยตัวนี้มันสมจริงนะ หรือ Motion Sim ตัวนี้มันเทพที่สุดนะ.. แต่พอคุณได้ลองเจ้าชุดนี้(ราคาล้านกว่าๆ ที่อยู่ระหว่างขาคุณ) คุณอาจจะคิดว่ามันห่วยแตกเหลือเกินก็เป็นได้

อาการแบบนี้ มันมีสาเหตุครับ.. แต่เบื้องต้น ผมอยากให้พวกคุณได้ลองเข้าใจในระบบเกมส์ Simulator ก่อน ว่าไอ้ที่คุณจับอยู่ในมือ(พวงมาลัย) และอยู่ระหว่างขาคุณ(แป้นเหยียบ) พื้นฐานการบังคับมันอยู่ในหลักฟิสิกส์พื้นฐานของรถจริงๆครับ.. ผมเห็นหลายคนที่พยายามเลี้ยวโค้ง ด้วยความเร็ว 150 180 (หรือมากกว่านั้น) แล้วพุ่งเข้ากำแพง พร้อมกับสีหน้าผิดหวังว่าทำไมรถมันไม่เลี้ยวตามที่เราหมุนพวงนะ ?

นั่นแหละครับ” ในชีวิตจริงของคุณ ลองเอารถบ้านๆที่คุณขับไปลงโค้งร้อยอาร์ ที่สนามพีระด้วยความเร็ว 200+ (ถ้าคุณกล้าไปทำ ผมอาจจะได้ไปจุดธุป 1 ดอกกราบคุณในงานเลี้ยงหลังวันนั้นแน่)

เอาเป็นว่า ลองขับด้วยจอยสติ๊กหรือเมาส์/คีบอร์ดให้คุ้นชินกับตัวเกมส์ก่อน แล้วถ้ารู้สึกว่ามันใช่ มันสนุก แล้วค่อยลองหาพวงมาลัยที่มีระบบ Force Feedback มาใช้สักตัวครับ

Force Feedback คืออะไร ?

(หลังจากนี้ผมจะเรียกว่า FFB นะ) จริงๆแล้ว FFB ไม่ใช่เรื่องใหม่ครับ มันมีมาตั้งแต่สมัยยุค 80s แล้วในพวกตู้เกมส์อาเขต เช่นพวกเกมส์แข่งรถตระกูล Outrun, Hard Drivin'(1989) และตู้เกมส์อื่นๆ

ตู้เกมส์ยอดฮิตของวัยรุ่น 80s

ซึ่งทุกวันนี้ระบบ FFB ได้รับการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่องจนเริ่มมีจอยพวงมาลัยที่มีระบบ FFB ออกมาตัวแรกบน PC คือของ Microsoft ก็คือรุ่น Sidewinder Force Feedback Racing Wheel และจากนั้นผู้ผลิตอื่นๆก็ได้ผลิตจอยของตัวเองขึ้นมาอีกหลายยี่ห้อไม่ว่าจะเป็น Logitech, Thrustmaster, Fanatec

ดังนั้นสิ่งที่ควรดูให้ดีก่อนการซื้อคือ “พวงมาลัยมี FFB หรือเปล่า?” จอยพวงมาลัยทุกตัวไม่ได้มีระบบนี้ทุกตัวนะครับ ผมในฐานะที่อยู่ในวงการ Race Sim และเคยขายอุปกรณ์มาก่อนเห็นเพื่อนหลายๆท่าน ได้ลงทุนซื้อจอยพวงมาลัยมือหนึ่งที่ไม่มีระบบ FFB เพราะหลงเชื่อคำโฆษณาของคนขายของตามร้าน(ที่โม้)ว่าจอยรุ่นนั้น รุ่นนี้สมจริงนะ บางครั้งก็อยากจะเข้าไปเตือนหลายๆคนที่จะซื้อจอยบางรุ่นที่ไม่มี FFB มาใช้ แต่ก็กลัวจะถูกคนขายด่าเอา.. สำหรับคนที่สนใจศึกษาว่าพวงมาลัยตัวไหนมี FFB หรือไม่ ขอให้ดู List ด้านล่างนี้ครับ ถ้าหากไม่มีชื่ออยู่ใน List ขอให้ตีเป็นว่าไม่มี FFB และไม่แนะนำให้ซื้อมาใช้ก็แล้วกันเนาะ 🙂

เริ่มต้นด้วยยุคสมัยของ New Gen FFB

Simucube 2 พวงมาลัย Direct Drive ยอดนิยมในตอนนี้

ยุค New Gen ที่ว่านั้นจะเริ่มในจอยพวงมาลัยยุค 2000s ขึ้นไป ซึ่งยี่ห้อที่ผมแนะนำให้คุณหาจะมีอยู่หลักๆ 3 ยี่ห้อนี้ครับ (จริงๆแล้วยังมีอีกหลายยี่ห้อนะ เช่นพวก Custom หรือ Direct Drive แต่ว่ามันจะต้องมีการปรับจูนก่อน ค่อนข้างยากสำหรับมือใหม่) ส่วนมือใหม่ อยากให้มองหาพวงมาลัยเหล่านี้ก่อน เพื่อเลี่ยงปัญหาเรื่อง Driver และการใช้งานที่ยุ่งยาก หรือไม่ Support เกมส์ครับ

Logitech รุ่น Momo , Driving Force GT(DFGT) ,Driving Force Pro ,G25 ,G27 ,G29 ,G920

Thrustmaster รุ่น Ferrari 458 Italia ,Ferrari F430 ,RGT FFB Clutch , FGT 2-in-1 Force Feedback ,T150 ,T300RS ,T500RS ,TS-PC ,TS-XW ,T-GT

Fanatec รุ่น Porsche 911 Carrera Wheel ,Porsche 911 Turbo S Wheel , Porsche 911 GT3 RS Wheel ,Porsche 911 GT2 Wheel ,Forza Motorsport CSR Elite Wheel , Forza Motorsport CSR Wheel , ClubSport Wheel Series

แต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ มันต่างกันยังไงล่ะ ?

ถ้าจ่ายมากกว่าคุณก็จะได้ของที่สเปคดีกว่าคนอื่นๆ

ผมขอเริ่มจากแบ่งจอยพวงมาลัยออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ แล้วกันครับ

1.จอยพวงมาลัยระบบเฟืองทด

2.จอยพวงมาลัยระบบสายพานทด

3.จอยพวงมาลัยประเภทกำลังขับตรง (Direct Drive)

พวงมาลัยทั้ง 3 แบบนี้จะให้การตอบสนองที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงครับ โดยปกติทั่วไป ณ ปัจจุบันนี้พวงมาลัย Logitech ยังคงเป็นพวงมาลัยเจ้าเดียวที่ยังคงทำระบบเฟืองทดอยู่ ซึ่งให้การตอบสนองที่แย่สุดในบรรดาจอยพวงมาลัยประเภท Mass Product (แต่ก็ยังดีกว่าพวกไม่มี FFB หรือตู้เกมส์หยอดเหรียญนะ) แต่มันเหมาะสำหรับผู้ที่อยากลองเข้ามาสัมผัสระบบ FFB ที่ดีและพอใช้ได้ในราคาที่ไม่โหดร้ายเกินไป (ถึงมันจะโหดร้ายกว่า Gaming Gear ประเภทอื่นก็เถอะ)

Logitech DFGT กับระบบเฟืองทดแรงมอเตอร์

ส่วนประเภทต่อมา เป็นระบบสายพานทดแรงมอเตอร์ จะสามารถพบได้ในจอยพวงมาลัยรุ่นกลางๆไปจนถึงรุ่นราคาสูง ยี่ห้อ Thrustmaster และ Fanatec ซึ่งระบบนี้ถือว่าให้การตอบสนองที่ดี สมูธ และไม่มี Deadzone หลวมๆเหมือนพวกระบบเฟืองทด หากคุณได้ลองอัพเกรดจากระบบเฟือง คุณจะรู้สึกได้ทันทีว่าระบบเฟืองนั้นมันกลายเป็นของเด็กเล่นไปเลย

Thrusmaster T300RS กับระบบสายพานทดแรงมอเตอร์

และระบบสุดท้าย ระบบ Direct Drive เป็นระบบที่ใช้มอเตอร์แรงบิดสูง มีทั้ง Servo และ Step มอเตอร์ ให้การตอบสนองเหนือชั้นกว่าระบบสายพานไปอีกระดับ ระบบนี้มีทั้งแบบงาน Custom Made และแบบ Mass Prosuct เช่นยี่ห้อ Simucube ,Fanatec ,Simagic ,Augry ,SimXperience ,Frex ซึ่งราคานั้น อาจจะโหดร้ายไปสำหรับหลายๆคน และไม่น่าจะมีใครที่กล้าสั่งของแบบนี้มาใช้โดยไม่ได้ลองก่อนแน่ๆ (ส่วนมากราคาครบเซ็ทแบบเล่นได้จะอยู่ตั้งแต่แสนขึ้นไป)

แต่ก่อนนั้นเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ระบบนี้ถูกใช้กันในเฉพาะทีมแข่งรถใหญ่ๆ เพื่อให้นักแข่งได้ซ้อมกับระบบ Simulator เนื่องจากตัวมันสามารถทำแรงต้านได้พอๆกับการขับรถโกคาทเลยทีเดียว(สำหรับคนที่ไม่เคยขับโกคาท ผมบอกเลยว่าหนักกว่ารถบ้านมากๆครับ หนักกว่ารถกระบะไม่มีพวงมาลัยพาวเวอร์อีก) และเช่นเคย.. เมื่อคุณมีโอกาสได้ทดลองใช้ระบบ Direct Drive มันจะทำให้คุณรู้สึกว่าระบบสายพานที่คุณเคยภาคภูมิใจนั้น กลายเป็นของเล่นไปเลย…

Simucube รุ่นแรกกับระบบ Direct Drive ที่ให้แรงบิดถึง 30Nm

ทิ้งท้ายไว้สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้น

อยากให้ทุกท่านได้ลองเล่นตัวเกมส์ และทดลองอุปกรณ์ Sim ทุกชิ้นก่อนจะเอารับเข้ามาเล่นนะครับ ตอนนี้ตลาดเกมส์กำลังเติบโต อยากให้ทุกท่านที่ลองเล่น เริ่มต้นจากแนวคิดพื้นฐานที่ว่า

“หากคุณต้องการขับรถจริง คุณต้องมีการหัดและฝึกซ้อมก่อน การเล่น Sim ก็เช่นกัน ถ้าคุณขับรถยนต์จริงได้นั้น ไม่ได้หมายความว่าคุณจะขับรถในเกมส์ Sim ได้ เช่นกัน”

และ

“จอยเกม ไม่ได้ลอง ไม่ได้เล่น อย่าซื้อ” โดยคุณ Beaver_XT

ขอบคุณจากใจที่อ่านกันมาถึงตรงนี้ สวัสดีครับ

Categories
บทความทั่วไป

Logitech DFGT Disassembly รื้อมาทำความสะอาดกันเถอะ !

Driving Force GT จอยรุ่นที่ประสบความสำเร็จสูงจาก Logitech อีก 1 ตัว เป็นจอยที่เหมาะสำหรับผู้ที่อยากสัมผัสระบบ FFB(Force Feedback) ในระดับเริ่มต้น ที่ราคาไม่สูงมาก ให้ฟิลลิ่งใกล้เคียงกับรุ่นใหญ่ของแบรนด์อย่าง Logitech G25/G27/G29 พร้อมกับการหมุนได้ 900 องศา

เริ่มผลิตครั้งแรกในปี 2007 และปัจจุบันได้เลิกผลิตไปแล้ว แต่ยังคงเหลือในตลาดมือสองได้ทั่วๆไป โดยปัจจุบันนี้ ตัวพวงมาลัยนั้น ไม่รองรับเครื่องเล่น PS4 แล้ว แต่ยังคงใช้กับเกมส์ PC ได้

ตัวผลิตภัณท์นี้จะออกมาเป็นรุ่นกล่องเขียว (เก่า) และกล่องดำ-ฟ้า (ใหม่) โดยรุ่นใหม่นั้นจะมีการอัพเกรดตัว Optical Encoder ให้มีความแข็งแรงขึ้น ทนต่อการหักได้มากกว่ารุ่นเก่า

ติดตามรีวิวเต็มๆได้ในคลิปถัดไปครับ

Categories
บทความทั่วไป

มาทำความสะอาดแป้นเหยียบกันเถอะ !

สำหรับท่านใดที่ใช้แป้นเหยียบแล้วเกิดอาการหลอน ไม่ว่าจะเป็นแป้นเบรกติดเอง หรือคันเร่งเหยียบแล้วสั่นๆ ไม่ Smooth สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวของท่านเองง่ายๆ ด้วย Contact Cleaner (สเปรย์สำหรับล้างทำความสะอาดผิวสัมผัส Sensor หรือขั้วอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเลคโทรนิกส์ต่างๆ) โดยปกติแล้วเจ้า Contact Clener จะมีอยู่ 2 ประเภทคือแบบแห้ง และแบบเปียก

โดยปกติทั่วไปแล้วทั้งสองแบบนี้สามารถใช้แทนกันได้ แต่แบบเปียกจะนิยมใช้สำหรับอุปกรณ์ประเภทที่มีหน้าผิวสัมผัสต่อเนื่องกันมากกว่าอย่างเช่นโวลลุ่มหรือ Potentiometer นั่นเอง โดยแบบชนิดเปียกนั้นจะออกแบบมาให้มีการเคลือบผิวสำหรับหล่อลื่น และลดการสึกหรอของตัวผิวสัมผัส Sensor ได้ดีกว่าแบบแห้งนั่นเอง

ส่วนแบบแห้งนั้นจะนิยมใช้กับแผงวงจร สวิชท์ หรือบอร์ดทั่วๆไปที่มีคราบอ๊อกไซด์ เพียงแค่ฉีดลงไปแล้วปล่อยให้แห้งก็ทำให้คราบที่ไม่เป็นมิตรกับอุปกรณ์พวกนี้สะอาดขึ้นได้แล้ว (อย่างเช่นอุปกรณ์พวกเมาส์ หรือสวิชคีบอร์ดประเภท Mechanical Keyboard ที่กดแล้วเบิ้ลก็สามารถใช้ฉีดรักษาอาการได้ครับ)

สำหรับเพื่อนๆที่ต้องการลองทำความสะอาดเอง ลองไปหาซื้อตามร้านอิเล็คโทรนิกส์ หรือตามห้างใหญ่ๆ แล้วทำตามคลิปนี้ได้เลยครับ