สินค้า simulator

กิจกรรม

การแข่งขัน

แนะนำอุปกรณ์

ทดลองอุปกรณ์

Categories
บทความทั่วไป รีวิว พรีวิว

Logitech G25 G27 G29 DFGT ต่างกันไหม ?

มาดูวิวัฒนาการของพวงมาลัยรุ่นยอดนิยมกัน

ในปี 2006 คือจุดเริ่มต้นยุคทองของจอยพวงมาลัย Logitech หลังจากได้ผลิตพวงมาลัยออกมาอย่างต่อเนื่อง พวกเขาได้ตีตราชื่อ “GT” จาก License เกมส์ยอดนิยม “Gran Turismo” ในรุ่นแรกของซีรีส์ Driving Force จากรุ่น “GT Force”(2001) พวกเขาได้สร้างมาตราฐานใหม่ให้กับจอยพวงมาลัย ในชื่อรุ่น Logitech G25

สำหรับเจ้าพวงมาลัยรุ่นนี้ ค่อนข้างได้รับความอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีความทนทานสูง ใช้วัสดุชั้นดีหุ้มหนังที่ตัวพวงมาลัยและคันเกียร์ แถมยังมีแป้นคลัชพร้อมเกียร์แยกมาให้ด้วย!

ซึ่งในยุคนั้นคู่แข่งสำคัญยังมีเพียงแค่ Fanatec เท่านั้น แต่ทว่า Fanatec ในตอนนั้นยังคุมเรื่อง Quality control ไม่ค่อยดีสักเท่าไร(แม้จะขึ้นชื่อว่าผลิตในเยอรมันก็เถอะ!) มีปัญหาจุกจิกในการใช้งานเยอะ แถมยังไม่ค่อยทนมือทนเท้า(ตีน)เหมือนรุ่นปัจจุบัน ทำให้ Logitech มองเห็นช่องว่างนั้นและอุดมันด้วยจอยพวงมาลัยราคา 299$ ซะเลย!

Logitech G25

ซึ่งสเปคสำคัญของเจ้า LogitechG25 ในยุคนั้น (ปี 2006) ถือว่าค่อนข้าง Hi-End พอสมควร(รวมไปถึงราคาด้วย)

Logitech G25 Specifications
-พวงมาลัยขนาด 11 นิ้ว (270mm) หุ้มด้วยหนังแท้
-สามารถหมุนได้ 900 องศา
-มีระบบ Force Feedback ทำงานด้วยมอเตอร์ 2 ตัว
-ทดกำลังด้วยระบบเฟือง
-มี 2 Paddleshifter ที่พวงมาลัย
-มีเกียร์แยก สามารถปรับเป็น Sequential Shifter หรือ H-Pattern ได้
-มีแป้นเหยียบ คลัช/เบรก/คันเร่ง (สปริงธรรมดา กดลงไปจังหวะเดียว)
-ใช้ Sensor แบบ Optical
-สามารถล๊อคโต๊ะได้ด้วย Clamp ในตัว หรือใช้ Hard mount ด้วย Screw/Bolt ขนาด M6 ได้

จัดว่าเป็นสเปคที่ค่อนข้างดีเลยทีเดียว ถ้าให้เทียบกับคู่แข่งที่เป็นสายพานอย่าง Fanatec ที่ขายแยกชิ้น และราคารวมทั้งชุดยังสูงกว่าในยุคนั้น (Fanatec Porsche 911 รวมทั้ง Set จะประมาณ 350$) ถึงแม้ G25 จะเป็นระบบเฟือง แต่ในเรื่องความสเถียรในการใช้งาน และมี Software ที่เป็นมิตรกับผู้บริโภค ทำให้จอยพวงมาลัยรุ่นนี้เข้าไปอยู่ในบ้านของผู้เล่นสาย Race Simulation ได้อย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน (เพราะมันไม่ยอมพังด้วยนั่นแหละ 😁)

Fanatec Porsche 911 Turbo Wheel

ถัดมาในปี 2007 ทาง Logitech ก็ได้ออกพวงมาลัยน้องใหม่ซึ่งกลายเป็นรุ่นยอดนิยมอีกรุ่น Logitech Driving Force GT (DFGT) ที่มีการลดสเปคลง เหลือเพียงมอเตอร์ตัวเดียว รวมถึงตัดเอาแป้นเหยียบ Clutch และเกียร์แยกออก ถึงกระนั้น แม้ออฟชั่นจะดูกระจ้อยร่อย แต่จอยรุ่นนี้ถือว่าทำการบ้านมาได้เป็นอย่างดี ให้ฟิลลิ่งที่แทบจะไม่ต่างกับ G25 รวมถึงเสียงรบกวนในการใช้งานด้วย (เสียงเฟืองขบกัน)

ที่สำคัญ ราคาเป็นมิตรกับผู้บริโภคมากด้วย (ราคาเปิดตัวราวๆ 150$) เรียกได้ว่า DFGT นี้เป็นจอยรุ่น Budget ที่ถูกและคุ้มค่าตัวมากที่สุดตลอดกาล จนแทบจะหาใครมาโค่นตำแหน่งนี้ลงไม่ได้เลย (ยกเว้นเขาจะโค่นมันลงด้วยตัวเอง จากการเลิกผลิตมันซะ เพราะการมาถึงของ PS4(2013) ที่จอยรุ่นนี้จะไม่สามารถ Support Platfrom PS4 และในที่สุด พวกเขาก็หยุดการผลิตลงไปในปี 2015 พร้อมกับ Logitech G27 )

มาถึง Logitech G27 ตัวยอดนิยมตลอดกาล(อีกแล้ว) ถึงขนาดเคยมีคนพูดว่า “ถ้าคุณเป็นแฟนเกมส์ Racing ตัวจริง ต้องมี G27 ติดบ้าน”

สำหรับเจ้าตัวนี้ได้รับการอัพเกรดเป็นระบบเฟืองแบบใหม่ “Helical Gear” หรือเฟืองเกียร์แบบตัดเฉียง ซึ่งสามารถลดเสียงรบกวนขณะใช้งานลงได้เยอะมาก โดยเฉพาะในตอนที่หักพวงมาลัยสู้แรง จะไม่มีเสียงดังฟี๊ดๆ แกร๊กๆ เหมือนอย่าง G25 และ DFGT แล้ว (แต่ก็ยังมีเสียงตอนกระแทกแรงๆอยู่บ้าง) แถมยังมีไฟ LED Shifter ที่ด้วยพวงมาลัยเพิ่มมาด้วย แต่ในรุ่นนี้ Logitech ตัดเอาระบบเกียร์ Sequential ออกไปซะแล้ว (แย่จัง)

Logitech G27

Logitech G27 Specifications
-พวงมาลัยขนาด 11 นิ้ว (270mm) หุ้มด้วยหนังแท้
-สามารถหมุนได้ 900 องศา
-มีระบบ Force Feedback ทำงานด้วยมอเตอร์ 2 ตัว
-ทดกำลังด้วยระบบเฟือง Helical Gear
-มี 2 Paddleshifter ที่พวงมาลัย
-มีเกียร์แยกแบบ H-Pattern Shifter
-มีแป้นเหยียบ คลัช/เบรก/คันเร่ง (สปริงธรรมดา กดลงไปจังหวะเดียว)
-ใช้ Sensor แบบ Optical
-มีไฟ LED Shifter ที่พวงมาลัย
-สามารถล๊อคโต๊ะได้ด้วย Clamp ในตัว หรือใช้ Hard mount ด้วย Screw/Bolt ขนาด M6 ได้

สำหรับฟิลลิ่งของ Force Feedback นั้น ไม่ต่างจาก G25 หรือ DFGT มากนัก (สำหรับคนที่ไม่เคยเล่นเลย จะแทบแยกไม่ออกครับ ว่ามันต่างกันยังไง) แต่สิ่งที่ได้อัพเกรดสำหรับรุ่นนี้ ที่มองเห็นได้ชัดเจน จะเป็นเรื่องของ H-Pattern Shifter ที่เปลี่ยนกลไกลใหม่ ให้รู้สึกแน่นขึ้นกว่าเดิม กับตัว Pad คันเร่งที่มีรูยึดเพิ่ม ที่สามารถปรับย้ายให้ห่างกันได้อีกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ในเรื่องของการ DIY สำหรับ G27 นั้นเรียกได้ว่ามีครบเครื่องมาก เพราะเป็นพวงมาลัยที่ค่อนข้างเป็นมิตรกับนัก DIY ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนพวงมาลัยเป็นพวงรถจริง หรือถอดแป้นเหยียบมาทำเป็นแบบกลับหัว หรือแม้กระทั้งการดัดแปลงวงจรเพื่อจ่ายระบบไฟเพิ่ม เพื่อเพิ่มแรง FFB และเปลี่ยนเบรกเป็นแบบ Load Cell

Load Cell Mod และแป้นกลับหัว

แต่สำหรับจุดด้อยของพวงมาลัยรุ่นนี้(รวมไปถึงรุ่นพี่อย่าง G25) ที่พบบ่อย มักจะเป็นในเรื่องของ Optical Sensor ที่ชอบหักหรือแตก ซึ่งหากใช้ไปนานๆ หรือเล่นจนร้อนมาก มักจะพบปัญหานี้กันทุกคน (ในปกติรุ่นนี้จะมีการผลิตออกมาเป็น 2 Gen ตัวแรกจะเป็นกล่องเขียวที่ใช้ Optical แบบ 60 รู และตัวรุ่นสองจะเป็นกล่องสีฟ้า ซึ่งใช้เป็น Optical แบบ 30 รู) ซึ่งเราสามารถรื้อมาเปลี่ยนอะไหล่จากที่เป็น Optical พลาสติกให้เป็นเหล็กได้

กล่องเขียวรุ่น 60 slot กล่องฟ้ารุ่น 30 slot
เปลี่ยนเป็นทองเหลืองไปเลย ใช้กันยาวๆ 😁

สำหรับเจ้าตัวนี้เรายังสามารถหาซื้ออะไหล่ได้ครับ ส่วนปัญหาอื่นๆจากการใช้งาน ก็จะมีกรณีที่ตัว Housing ของระบบเฟืองทดภายในแตกหัก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้จากการใช้งานที่รุนแรงเกินไป หรือนิสัยการชอบโหนตัวกับพวงมาลัยในระหว่างการลงไปนั่งครับ

และแล้วมาถึง Gen ล่าสุดอย่าง Logitech G29(PS4) และ Logitech G920(Xbox) ซึ่งผมจะให้นิยาม Gen นี้ว่า “รุ่นย้อมแมวขาย” 😂😂

Logitech G29 เหมี๊ยวๆ

หลังจากการเปิดตัวรุ่นนี้พร้อมกับการมาของ PS4 กับเกมส์ GT Sport ทำให้ทาง Logitech เลิกผลิตพวงมาลัยยอดนิยมอย่าง DFGT และ G27 ลงไป พร้อมทั้งขึ้นราคามาอีก 100$ และขายเกียร์แยก(ที่สเปคแย่กว่าเดิม)เพิ่มอีก และในล๊อตแรกๆที่ผลิต พบว่าตัวพวงมาลัยพังค่อนข้างสูงมากภายใน 1 ปี (หรือพังตอนหมดประกันพอดี) จนแทบจะกลายเป็นยุคมืดของ Logitech เลยทีเดียว

Logitech G29 Specifications
-พวงมาลัยขนาด 11 นิ้ว (270mm) หุ้มด้วยหนังแท้
-สามารถหมุนได้ 900 องศา
-มีระบบ Force Feedback ทำงานด้วยมอเตอร์ 2 ตัว
-ทดกำลังด้วยระบบเฟือง Helical Gear
-มี 2 Paddleshifter ที่พวงมาลัย
-มีเกียร์แยกแบบ H-Pattern ได้ (แต่ต้องซื้อเพิ่ม)
-มีแป้นเหยียบ คลัช/เบรก/คันเร่ง (สปริงเบรก มีลูกยางเพิ่มการเหยียบเป็น 2 ระดับ)
-ใช้ Sensor แบบ Hall effect Sensor
-มีไฟ LED Shifter ที่พวงมาลัย
-สามารถล๊อคโต๊ะได้ด้วย Clamp ในตัว หรือใช้ Hard mount ด้วย Screw/Bolt ขนาด M6 ได้
-รองรับ PS4/PS5

ใช่แล้วครับ สเปคนั้นแทบจะไม่ต่างกับรุ่นที่ออกมาในปี 2006 เลย ยกเว้นตัวพวงมาลัยที่เพิ่มความเป็น DFGT ลงไป พร้อม Sensor ใหม่แบบแม่เหล็ก(Hall Sensor) กับสปริงเบรกที่มีการเพิ่มลูกยางเข้าไป(ให้เป็น 2 จังหวะ) สำหรับตัวผมนั้นค่อนข้างที่จะผิดหวังในรุ่นนี้มาก เพราะแต่ก่อนแบรนด์ Logitech นี้แทบจะเป็นขวัญใจคนยาก(อย่างผม) กลับเพิ่มราคามาขนาดนี้ แต่ไม่ได้พัฒนาในเรื่องของแรง FFB เลย แถมยังเอาเกียร์แยกมาขายเพิ่มอีก

ลูกยางเดิมก็ไม่ค่อยดี ซื้อของ Mod ใส่ดีกว่า 5555

#WARNINGในบทความต่อไปนี้อาจะเต็มไปด้วย HateSpeech เกี่ยวกับผลิตภัณท์และแบรนด์นี้โปรดใช้วิจารณญานในการอ่านให้มากๆ ถถถถถ

วันแรกที่ผมได้ลองสัมผัสมัน ผมเคยรีวิวไว้ว่ามันแย่มาก “อาจเป็นเพราะพวงมาลัยมันยังเพิ่งจะออกใหม่ๆ Firmware เลยยังไม่ค่อยดีล่ะมั้ง “ (ผมคิดในใจ) เลยทำให้ฟิลลิ่งมันไม่ต่างจากรุ่นเก่า จนกระทั่งในปี 2020 ผมยังสัมผัสได้เลยว่าฟิลลิ่งมันไม่มีการพัฒนาใดๆขึ้นมาเลย (5 ปีแล้วน๊าาาา!) ทั้งที่มันอัพเกรดจาก Optical Sensor เป็น Hall Effect (แม่เหล็ก) แล้ว มันน่าจะให้ความละเอียดได้มากกว่านี้เซ่!

แต่แล้วผมก็ได้ตระหนักว่า ในความเป็นจริงนั้น สิ่งที่ทาง Logitech ควรอัพเกรดก็คือ ระบบเฟืองนั่นเอง!

“เพราะเจ้าระบบเฟืองนี่แหละที่เป็นตัวร้าย

GABBBB

ด้วย Mechanic การทำงานของมัน ระบบเฟืองจะมี GAP เล็กๆในระบบ ซึ่งทำให้เอกลักษณ์ของ Force Feedback พวงมาลัยประเภทนี้ มีความโหวงเหวง ว่างเปล่าในช่วงของ Deadzone เหมือนกันหมด (ช่วงที่พวงมาลัยตั้งอยู่ตรงกลาง) ซึ่งในปัจจุบัน มีผู้คนเริ่มสร้างจอยพวงมาลัยแบบ DIY จำลอง FFB กันขึ้นมาเองได้แล้ว ผมเห็นหลายคนใช้ Optical Encoder เป็น Sensor ให้พวงมาลัย และใช้สายพาน กลับพบว่าไม่มี Deadzone ที่โหวงเหวงเหมือนระบบเฟือง ซึ่งตรงนี้ผมมองว่าทาง Logitech ควรที่จะหันมามองระบบนี้มากกว่าระบบเฟืองได้แล้ว เพราะในปัจจุบันคู่แข่งใหญ่อย่าง Fanatec หรือ Thrusmaster ได้เปลี่ยนไปใช้ระบบสายพานกันเกือบหมดทุกรุ่นแล้ว (แน่นอนว่าแหละว่าระบบเฟืองอาจจะอยู่ได้คงทนกว่า แต่สายพานถ้ามันหย่อนย้อยก็ถอดเปลี่ยนได้นิ?!)

Fanatec Porsche 911 เขาใช้กันมาเป็นสิบปีแล้วนะ!

จุดนี้ทำให้ผมมองว่า Logitech กำลังก้าวผิดทางจากการที่พยายามขายของที่แพง แต่ได้ประสิทธิภาพเท่าเดิม(หรือลดลง) และพยายามโฆษณาว่ามันได้รับการอัพเกรด (รวมไปถึงการเลิกทำจอยพวงมาลัยราคาถูกอย่างรุ่น DFGT) ซึ่งตอนนี้ Logitech ได้ออกผลิตภัณท์ใหม่มาอีกตัวเป็นรุ่น G923 (Trueforce) ที่ยังใช้ระบบเฟืองทดเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนระบบภาคจ่ายไฟใหม่ และ Software Engine ใหม่ที่เรียกว่า “Trueforce”(lulforce) ซึ่งหลายเจ้าที่ได้รีวิวไปนั้น ยังบอกว่าฟิลลิ่งทั่วไปยังไม่ต่าง มีเพียงแค่ตอนเปิดระบบ Trueforce แล้วมีแรงบางอย่างเพิ่มเข้าไปบ้างแค่นั้น ไม่ได้ทำให้มันแตกต่างชัดเจนจากระบบเก่าๆเลย

ซึ่งในท้ายนี้ผมคงอยากจะบอกทุกท่านว่า ถ้าหากท่านกำลังมองหาจอยพวงมาลัยสักมาใช้สักตัว และกำลังมองหา “Logitech” ขอให้ท่านเลือกดูแค่ Platform ก่อนว่าท่านจะเล่นกับอะไร “PC/PS4/PS5/Xbox”

ถ้าหากท่านใช้ PC ก็ขอให้มองหาตัวเลือกที่เป็น G27 จะดีกว่า เพราะฟิลลิ่งโดยรวมนั้นไม่ต่างกัน และยังสามารถ Mod ได้ง่าย เพราะว่าของ Mod หาง่าย และมีขายกันทั่วไปในตลาด ส่วนท่านใดที่ใช้ Console ก็ขอให้เลือกใช้จอยพวงมาลัยตามสเปคเขาแนะนำก็แล้วกันครับ

ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการเล่นจอยพวงมาลัย

แอดเหมียว

Categories
บทความทั่วไป รีวิว พรีวิว

เจาะลึก/รีวิว Logitech Driving Force GT

สวัสดีครับ ช่วงนี้กลุ่ม Race Sim กำลังคึกคัก เริ่มมีคนสนใจศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับจอยพวงมาลัยที่มีระบบ Force Feedback กันมากขึ้นจนทำให้ตอนนี้ราคาจอยพวงมาลัยเพิ่มขึ้นมากพอสมควร (รวมไปถึงจอยพวงมาลัยที่ไม่มี Force Feedback ด้วย) ผมจึงอยากให้ผู้เล่นใหม่ทุกท่าน ได้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของจอยพวงมาลัยแต่ละตัวก่อนซื้อกันด้วย เพื่อไม่ให้เสียเงิน และเสียเวลาไปกับจอยที่ไม่มี Force Feedback กันครับ

เอาล่ะครับมาเริ่มกันเลยดีกว่า

ในวันนี้เรากำลังจะพูดถึงผลิตภัณท์จอยพวงมาลัยที่ประสบความสำเร็จชิ้นหนึ่งของโลกเลยก็ว่าได้ และเจ้าตัวนี้เรียกได้ว่าเป็นตัวครูของใครหลายๆคน รวมไปถึงระดับโปรเพลเยอร์เลยทีเดียว เจ้าพวงมาลัยตัวนี้ เคยเป็นรุ่นที่ราคาคุ้มค่าที่สุดในยุคหนึ่ง เพราะมีระบบ Force Feedback (ต่อจากนี้ผมจะเรียกว่า FFB นะ) ที่พัฒนามาเป็นแบบสมัยใหม่ และให้การหมุนพวงมาลัยได้ถึง 900 องศาเลยทีเดียว

Logitech Driving Force GT

หลังการกำเนิดจอยพวงมาลัย FFB ในยุคใหม่ของ Logitech ทางบริษัทก็ได้ผลิตพวงมาลัยเข้าสู่ตลาด Mass หลายรุ่นด้วยกัน ซึ่งหนึ่งปีก่อนหน้านั้น ทางบริษัท Logitech ได้ผลิตจอยรุ่นเรือธงของแบรนด์ในชื่อรุ่น Logitech G25 ซึ่งตัวนี้ได้ออกมาพร้อมระบบ FFB แบบใหม่ที่ทรงพลังกว่าเก่า และยังมาพร้อมกับอุปกรณ์ที่ครบเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นแป้นเหยียบที่มีคลัชมาให้ หรือเกียร์แยกที่สามารถใช้ได้ 2 ระบบในชิ้นเดียว คือ “H-Shifter” และ “Sequential Shifter” แน่นอนว่าหลังจากนั้นทางบริษัทได้ตัดสินใจผลิต”รุ่นล่าง”ที่ชื่อว่า Logitech Driving Force GT ซึ่งเจ้านี่ได้รับการอัพเกรดขึ้นในเรื่องของระบบกลไกล FFB ใหม่จากรุ่น Logitech G25 ที่รองรับการหมุนรอบได้ 900 องศาสมบูรณ์ จากรุ่นเก่าที่สามารถหมุนได้เพียง 200 องศา (แต่สามารถปรับเป็น 900 ได้เช่นกัน)

สำหรับรหัสซีรีส์ที่ลงท้ายชื่อด้วยคำว่า ” GT “ นั้น มันต้องผลิตมาเพื่อเกมส์ Gran Turismo อย่างแน่นอน (แต่จริงๆใช้ได้ทุกเกมส์นะ) พวงมาลัยรุ่นนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง Logitech และ Polyphony Digital เข้ามาทำการผลิตเพื่อเกมส์ Gran Turismo 5 ใน Playstation 3 (ใครที่อยากรู้ความเป็นมา สามารถเข้าไปอ่านในนี้ได้เลยครับ http://blog.logitech.com/2009/03/27/the-making-of-the-logitech-driving-force-gt )

สเปคของ Logitech Driving Force GT จะมีดังนี้

-หมุนได้ 900 องศา
-ตัวพวงมาลัยขนาด 11 นิ้ว
-ตอบสนอง Force Feedback ด้วยมอเตอร์ 1 ตัว
-ทดกำลังมอเตอร์ด้วยระบบเฟืองเกียร์
-มี Sequential Gearbox (ย้ายฝั่งไม่ได้)
-มีแป้นเหยียบเบรก/คันเร่ง
-เชื่อมต่อทางสาย USB และมี Adaptor ไฟเลี้ยง 24v 1 เส้น

นับตั้งแต่สมัยยุค Driving Force Pro ซึ่งเป็นพวงมาลัยที่ใช้กับ Playstation 2 กับเกมส์ Gran Turismo 4 มีคนกลุ่มนึงลองเอาพวงมาลัยต่อกับ PC ปรากฏว่ามันเกิดใช้งานได้ ซึ่งชาว Race Sim ในยุคนั้นก็ไม่ได้รอช้า ลองเอาเจ้า DFGT นี่ต่อเข้าไปกับ PC ปรากฏว่ามันใช้งานได้ครับ ! โดยเริ่มแรกยุคนั้น Logitech ยังไม่ได้ออก Driver ตัวรองรับมาสำหรับ PC แต่พอเสียบเข้าไป กลายเป็นมองเห็นว่าเป็น Driving Force Pro ซะงั้น และปุ่มต่างๆ ยังใช้ไม่ได้ครบ จนกระทั้ง Logitech ออก Driver มานั่นแหละ จึงทำให้ DFGT สามารถใช้งานได้ครบทุกฟังชั่น รวมไปถึงปุ่มหมุนสีแดงด้วย!

นี่จึงเป็นการเริ่มต้นตำนานใหม่ของพวงมาลัย 900 องศาราคาประหยัดจาก Logitech สำหรับคอเกมส์แข่งรถใน PC เลย (ในสมัยนั้นถ้าผมจำไม่ผิด ช่วงปี 2011 ผมซื้อมาประมาณ 4,900.- แต่มาเจอโปรลดราคาในตอนหลังแค่ 3,900.- เอง) ซึ่งในปัจจุบัน DFGT ได้หยุดไลน์การผลิตลงไปแล้วในช่วงปี 2016 จากการมาถึงของ PS4 และ Logitech G29

สำหรับเรื่องของหน้าตาและวัสดุในการผลิต

สำหรับเจ้า DFGT นั้นมากับพวงมาลัยหุ้มยางขนาด 11 นิ้ว ใช้การยึดโต๊ะแบบมาตราฐานของ Logitech ไม่มีรูสำหรับยึดแบบ Hard Mount กับรู Cockpit ทั้งตัวแป้นเหยียบและพวงมาลัย แต่ตัวแป้นเหยียบมีหนามเตย สำหรับยึดเกาะกับวัสดุประเภทผ้าหรือพรมและมีตัวถ่วงน้ำหนักอยู่ด้านล่างอีก 1 จุด สำหรับกันหงาย/กระดก แต่มันก็ไม่เหมาะกับการยึดกับ Cockpit สักเท่าไร ซึ่งคุณอาจจะต้องใช้เทปกาว 2 หน้ามาช่วยในการยึดติด หากคุณต้องการติดตั้งกับชุด Cockpit แบบแน่นๆ

หมุนๆ แล้วก็ยึดขอบโต๊ะไปเลย

สำหรับฟิลลิ่งการเหยียบแป้นเหยียบนั้นค่อนข้างที่จะเบา เพราะสปริงค่อนข้างทำมาอ่อนตั้งแต่โรงงาน แต่ยังสามารถ Mod เพิ่มความแข็งได้นิดหน่อย (ได้แข็งประมาณแป้นเหยียบของ G27) ซึ่งสามารถดูได้ใน Link นี้ครับ https://www.overclockzone.com/forums/showthread.php/1872969

แป้นเหยียบที่ได้ต้นแบบมาจากรุ่นพี่
ด้านล่างมีเหล็กถ่วงน้ำหนัก ทำให้เหยียบแล้วไม่กระดก
หนามเตยแบบพับเก็บได้ สำหรับยึดกับพรม

สำหรับตัวเกียร์นั้น พวงมาลัยนี้มีให้มา 2 ระบบ เป็นแบบ Paddle Shift และแบบ Sequential Gearbox ซึ่งตัวเกียร์ SQ นั้นจะอยู่ทางด้านขวาและไม่สามารถย้ายมาไว้ฝั่งซ้ายได้ ส่วนตัว Paddle Shift นั้นจะหลบอยู่ด้านหลังพวงมาลัย ไม่ยื่นออกมาแบบพวงมาลัยรุ่นปัจจุบันอื่นๆ ซึ่งทำให้การกดใช้ Paddle Shift นั้นค่อนข้างลำบากพอสมควร

Sequential Gearbox
Paddle Shift ที่น่าจะเรียกว่าปุ่มกดซะมากกว่า

มาถึงในส่วนของ FFB ค่อนข้างให้การตอบสนองทั่วไปได้ดี สำหรับระบบ FFB ตัวนี้ยังใช้กันมาถึงรุ่นใหญ่ของ Logitech ในปัจจุบัน แต่จะต่างกับรุ่นใหม่ๆตรงที่ภายในยังเป็นระบบเฟืองธรรมดาอยู่ แต่รุ่นใหม่ๆตั้งแต่ G27 เป็นต้นไป ข้างในจะเป็นระบบเฟืองแบบตัดเฉียงแล้ว ซึ่งทำให้เสียงรบกวนระหว่างการเล่นนั้นลดลงไปพอสมควร ส่วนข้อเสียของระบบ FFB ในแบบเฟืองนั้นคือเรื่องของ GAB ในระบบ ที่จะทำให้ตรงจุดกึ่งกลางระหว่างการขับมีอาการเหวอเล็กน้อย และยังมีเสียงรบกวนแบบฟื้ดๆ แกร๊ดๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งถ้าให้เทียบกับระบบสายพานในจอยรุ่นใหม่ๆอาจจะทำให้รู้สึกหงุดหงิดและรำคาณได้บ้าง

ระบบเฟืองเกียร์ทดรอบ

ถ้าให้เทียบกับจอยของ Logitech ในรุ่นใหม่ๆอย่างพวก G27 หรือ G29/G920 ตัว FFB ในรุ่นนี้ถือว่าแทบไม่ต่างกัน หรือแทบแยกไม่ออก ถ้าไม่ฟังเรื่องเสียงในการรบกวน และความเร็วรอบ(RPM)ในการตีพวงมาลัยกลับ

สำหรับในส่วนตำแหน่งการวาง Sensor ของเจ้า DFGT นั้นจะไม่ได้วางไว้ด้านหลังมอเตอร์แบบรุ่นที่มี 2 มอเตอร์(G25/G27/G29) ทำให้ไม่ค่อยเจอปัญหา Sensor หักแบบรุ่นใหม่ๆสักเท่าไร

มอเตอร์เดียวแต่ให้พลังเท่ารุ่นใหญ่อย่าง G25/G27 ได้ !

และในส่วนการผลิตนั้นตัวพวงมาลัยจะออกมาเป็น 2 รุ่น ซึ่งรุ่นเก่าจะเป็นกล่องสีเขียวและรุ่นใหม่จะเป็นกล่องสีฟ้า-ดำ(Minorchange) และจะใช้ Optical Encoder คนละแบบกัน ซึ่งแบบเก่ามีรูสำหรับอ่านค่าตำแหน่ง Sensor 60 Slot และรุ่นใหม่ จะลดจำนวนรู Sensor ลงเหลือเพียง 30 Slot เพื่อให้มีความแข็งแรงทนทานมากกว่าเดิม

หน้าตา Optical Encoder แบบ 60 Slot
Optical Encoder สำหรับเปลี่ยนแบบทองเหลือง หาซื้อมาเปลี่ยนเองได้ไม่ยาก ทนทานสุดๆ

เอาละครับมาดูสรุปกันเลยดีกว่า

ข้อดี
-พวงมาลัยมีขนาด 11 นิ้ว และหุ้มด้วยยางคุณภาพสูง
-หมุนได้ 900 องศา
-ปุ่มเยอะดี แถมมีแตรด้วย
-Force Feedback เหมือนรุ่นสูงๆของ Logitech ในปัจจุบัน
-มีเกียร์ Sequential และ Paddle Shift
-คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป

ข้อเสีย
-แป้นเหยียบเบามาก
-Paddle Shift กดยาก
-Sequential Gearbox ไม่สามารถย้ายฝั่งได้
-รอบการตีกลับ(RPM)ช้ากว่ารุ่นใหญ่ของค่ายนิดหน่อย
-ไม่เหมาะกับการใช้กับ Cockpit เหมาะกับยึดโต๊ะมากกว่า
-มี Gab ในระบบระบบเฟือง
-ไม่รองรับ PS4

สรุปว่าเป็นตัวที่คุ้มค่า ถ้าคุณยังหามือสองได้ ซึ่งราคามือสองที่ถูกสุดเท่าที่เคยเห็นจะอยู่ที่ราวๆ 2,xxx – 3,xxx ครับ สามารถเอามาใช้เป็นตัวครูสำหรับเริ่มเล่น Race Simulator ได้เลย แต่จะติดอยู่เรื่องนึง ถ้าหากจะเอาไปใช้งานก็คงใช้ได้แค่กับทาง PC เท่านั้นครับ เพราะตัวพวงมาลัยได้ถูกลอยแพ จากระบบคอนโซลตั้งแต่ยุค PS4 แล้ว

เอาเป็นว่าขอฝากไว้อีกอย่างนึงนะครับ “จอยเกม ไม่ได้ลอง ไม่ได้เล่น อย่าซื้อ” (โดยคุณ Beaver_XT)

วันนี้ต้องขอลาทุกคนไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า สวัสดีครับ //แอดเหมียว

ปล.บทความนี้ได้แรงบัลดาลใจ และการเริ่มต้นเล่น Sim จากท่าน Beaver_XT (ผู้ดึงผมเข้าสู่วงการนี้) สนใจอ่านรีวิวที่ท่านบีเวอร์รีวิวไว้ได้ที่นี่ครับ https://www.overclockzone.com/forums/showthread.php/1041809

กล่องซ้ายสีเขียวเป็นรุ่นแรก Optical 60slot กล่องขวาเป็นรุ่นใหม่ 30Slot
Categories
บทความทั่วไป รีวิว พรีวิว

อย่าเพิ่งซื้อจอยพวงมาลัย ถ้าคุณยังไม่ได้อ่านบทความนี้ !

ใครขี้เกียจอ่าน ดูคลิปได้เลยจ้ะ

เริ่มต้นเล่น Race Simulator (Basic&Advance)

เกมส์ Race Simulator เริ่มได้รับความนิยมและรู้จักเป็นวงกว้าง เนื่องจากมีผู้พัฒนาเกมส์หลายค่ายเริ่มสนใจตลาดทางด้านนี้มากขึ้น

อยากไปซิ่งแต่เมียไม่ให้

โดยในปัจจุบันนั้นมีอยู่ 3 Platform ใหญ่ๆ ที่มีการพัฒนาเกมส์อย่างต่อเนื่องคือ PC / Playstation / Xbox ซึ่งในแต่ละ Platform ก็มีเกมส์ที่ Exclusive เด่นๆ เฉพาะ ฝั่ง ของตัวเองเช่นทาง PC จะมี iRacing, RaceRoom และ Playstation จะมี Grand Tourismo, Drive Club และทาง Xbox ก็จะเป็นเกมส์ Forza Motorsport, Forza Horizon และนอกจากนั้นยังมีอีกหลายเกมส์ที่ลงอยู่ใน Platform มากกว่าหนึ่งอย่างเช่น Project Cars, Assetto Corsa, Dirt Rally เป็นต้น

Grand Tourismo Sport PS4

สำหรับข้อแตกต่างกันระหว่าง Platform นั้นจะเป็นเรื่องของอุปกรณ์ Hardware ที่รองรับ พร้อมกับฟังก์ชั่นการอัพเกรดที่แตกต่างกัน ถ้าเป็นเครื่องตระกูล Console อย่าง PS/Xbox นั้นอาจจะมีอุปกรณ์เสริมที่น้อยกว่าทางฝั่งของ PC เพราะทางฝั่ง PC นั้นมี Input/Output ที่มากกว่า สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลายชนิด สามารถต่อใช้งานได้แบบ 3 จอ หรือมากกว่านั้นและยังรองรับอุปกรณ์ประเภท DIY ไม่ว่าจะเป็นชุดเกียร์ Custom, เสริมเกจวัดรอบ, แป้นเหยียบไฮดรอลิก, Realtime Telemetry สำหรับนักแข่ง, ไปจนถึงระบบ Motion Simulator เต็มรูปแบบเลยทีเดียว

Driver Analysis แบบเดียวกับที่ทีมแข่งใช้งานจริง

ผู้ที่เริ่มต้นเล่นควรมองหาอะไรก่อน ?

ผมอยากให้ทุกคนเริ่มจากสิ่งที่มีอยู่รอบๆตัวก่อน ไม่ว่าจะเป็นโน๊ตบุ๊คสักเครื่อง หรือเครื่องเล่น Console (PS3/PS4/Xbox) แล้วลองหาเกมส์ Simulator มาใช้เล่นกับเมาส์ คีบอร์ด หรือจอยสติ๊กก่อนครับ

เพราะบางทีทุ่มเงินเข้าไปสักก้อนเพื่อซื้อจอยพวงมาลัยและอุปกรณ์เทพๆ กับการคาดหวัง(ที่สูงเกินไป)ว่ามันจะสมจริงถึงขนาดที่คุณจะเล่นครั้งแรกแล้วรู้สึกโอเคไปกับมัน แต่ในบางคน..อาจจะไม่รู้สึกเช่นนั้นโดยเฉพาะคนที่เคยขับรถจริง หรือแข่งรถจริงมาก่อน

ใช่! ถ้าผมเป็นพ่อค้า ผมอาจจะบอกคุณว่าจอยตัวนี้มันสมจริงนะ หรือ Motion Sim ตัวนี้มันเทพที่สุดนะ.. แต่พอคุณได้ลองเจ้าชุดนี้(ราคาล้านกว่าๆ ที่อยู่ระหว่างขาคุณ) คุณอาจจะคิดว่ามันห่วยแตกเหลือเกินก็เป็นได้

อาการแบบนี้ มันมีสาเหตุครับ.. แต่เบื้องต้น ผมอยากให้พวกคุณได้ลองเข้าใจในระบบเกมส์ Simulator ก่อน ว่าไอ้ที่คุณจับอยู่ในมือ(พวงมาลัย) และอยู่ระหว่างขาคุณ(แป้นเหยียบ) พื้นฐานการบังคับมันอยู่ในหลักฟิสิกส์พื้นฐานของรถจริงๆครับ.. ผมเห็นหลายคนที่พยายามเลี้ยวโค้ง ด้วยความเร็ว 150 180 (หรือมากกว่านั้น) แล้วพุ่งเข้ากำแพง พร้อมกับสีหน้าผิดหวังว่าทำไมรถมันไม่เลี้ยวตามที่เราหมุนพวงนะ ?

นั่นแหละครับ” ในชีวิตจริงของคุณ ลองเอารถบ้านๆที่คุณขับไปลงโค้งร้อยอาร์ ที่สนามพีระด้วยความเร็ว 200+ (ถ้าคุณกล้าไปทำ ผมอาจจะได้ไปจุดธุป 1 ดอกกราบคุณในงานเลี้ยงหลังวันนั้นแน่)

เอาเป็นว่า ลองขับด้วยจอยสติ๊กหรือเมาส์/คีบอร์ดให้คุ้นชินกับตัวเกมส์ก่อน แล้วถ้ารู้สึกว่ามันใช่ มันสนุก แล้วค่อยลองหาพวงมาลัยที่มีระบบ Force Feedback มาใช้สักตัวครับ

Force Feedback คืออะไร ?

(หลังจากนี้ผมจะเรียกว่า FFB นะ) จริงๆแล้ว FFB ไม่ใช่เรื่องใหม่ครับ มันมีมาตั้งแต่สมัยยุค 80s แล้วในพวกตู้เกมส์อาเขต เช่นพวกเกมส์แข่งรถตระกูล Outrun, Hard Drivin'(1989) และตู้เกมส์อื่นๆ

ตู้เกมส์ยอดฮิตของวัยรุ่น 80s

ซึ่งทุกวันนี้ระบบ FFB ได้รับการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่องจนเริ่มมีจอยพวงมาลัยที่มีระบบ FFB ออกมาตัวแรกบน PC คือของ Microsoft ก็คือรุ่น Sidewinder Force Feedback Racing Wheel และจากนั้นผู้ผลิตอื่นๆก็ได้ผลิตจอยของตัวเองขึ้นมาอีกหลายยี่ห้อไม่ว่าจะเป็น Logitech, Thrustmaster, Fanatec

ดังนั้นสิ่งที่ควรดูให้ดีก่อนการซื้อคือ “พวงมาลัยมี FFB หรือเปล่า?” จอยพวงมาลัยทุกตัวไม่ได้มีระบบนี้ทุกตัวนะครับ ผมในฐานะที่อยู่ในวงการ Race Sim และเคยขายอุปกรณ์มาก่อนเห็นเพื่อนหลายๆท่าน ได้ลงทุนซื้อจอยพวงมาลัยมือหนึ่งที่ไม่มีระบบ FFB เพราะหลงเชื่อคำโฆษณาของคนขายของตามร้าน(ที่โม้)ว่าจอยรุ่นนั้น รุ่นนี้สมจริงนะ บางครั้งก็อยากจะเข้าไปเตือนหลายๆคนที่จะซื้อจอยบางรุ่นที่ไม่มี FFB มาใช้ แต่ก็กลัวจะถูกคนขายด่าเอา.. สำหรับคนที่สนใจศึกษาว่าพวงมาลัยตัวไหนมี FFB หรือไม่ ขอให้ดู List ด้านล่างนี้ครับ ถ้าหากไม่มีชื่ออยู่ใน List ขอให้ตีเป็นว่าไม่มี FFB และไม่แนะนำให้ซื้อมาใช้ก็แล้วกันเนาะ 🙂

เริ่มต้นด้วยยุคสมัยของ New Gen FFB

Simucube 2 พวงมาลัย Direct Drive ยอดนิยมในตอนนี้

ยุค New Gen ที่ว่านั้นจะเริ่มในจอยพวงมาลัยยุค 2000s ขึ้นไป ซึ่งยี่ห้อที่ผมแนะนำให้คุณหาจะมีอยู่หลักๆ 3 ยี่ห้อนี้ครับ (จริงๆแล้วยังมีอีกหลายยี่ห้อนะ เช่นพวก Custom หรือ Direct Drive แต่ว่ามันจะต้องมีการปรับจูนก่อน ค่อนข้างยากสำหรับมือใหม่) ส่วนมือใหม่ อยากให้มองหาพวงมาลัยเหล่านี้ก่อน เพื่อเลี่ยงปัญหาเรื่อง Driver และการใช้งานที่ยุ่งยาก หรือไม่ Support เกมส์ครับ

Logitech รุ่น Momo , Driving Force GT(DFGT) ,Driving Force Pro ,G25 ,G27 ,G29 ,G920

Thrustmaster รุ่น Ferrari 458 Italia ,Ferrari F430 ,RGT FFB Clutch , FGT 2-in-1 Force Feedback ,T150 ,T300RS ,T500RS ,TS-PC ,TS-XW ,T-GT

Fanatec รุ่น Porsche 911 Carrera Wheel ,Porsche 911 Turbo S Wheel , Porsche 911 GT3 RS Wheel ,Porsche 911 GT2 Wheel ,Forza Motorsport CSR Elite Wheel , Forza Motorsport CSR Wheel , ClubSport Wheel Series

แต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ มันต่างกันยังไงล่ะ ?

ถ้าจ่ายมากกว่าคุณก็จะได้ของที่สเปคดีกว่าคนอื่นๆ

ผมขอเริ่มจากแบ่งจอยพวงมาลัยออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ แล้วกันครับ

1.จอยพวงมาลัยระบบเฟืองทด

2.จอยพวงมาลัยระบบสายพานทด

3.จอยพวงมาลัยประเภทกำลังขับตรง (Direct Drive)

พวงมาลัยทั้ง 3 แบบนี้จะให้การตอบสนองที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงครับ โดยปกติทั่วไป ณ ปัจจุบันนี้พวงมาลัย Logitech ยังคงเป็นพวงมาลัยเจ้าเดียวที่ยังคงทำระบบเฟืองทดอยู่ ซึ่งให้การตอบสนองที่แย่สุดในบรรดาจอยพวงมาลัยประเภท Mass Product (แต่ก็ยังดีกว่าพวกไม่มี FFB หรือตู้เกมส์หยอดเหรียญนะ) แต่มันเหมาะสำหรับผู้ที่อยากลองเข้ามาสัมผัสระบบ FFB ที่ดีและพอใช้ได้ในราคาที่ไม่โหดร้ายเกินไป (ถึงมันจะโหดร้ายกว่า Gaming Gear ประเภทอื่นก็เถอะ)

Logitech DFGT กับระบบเฟืองทดแรงมอเตอร์

ส่วนประเภทต่อมา เป็นระบบสายพานทดแรงมอเตอร์ จะสามารถพบได้ในจอยพวงมาลัยรุ่นกลางๆไปจนถึงรุ่นราคาสูง ยี่ห้อ Thrustmaster และ Fanatec ซึ่งระบบนี้ถือว่าให้การตอบสนองที่ดี สมูธ และไม่มี Deadzone หลวมๆเหมือนพวกระบบเฟืองทด หากคุณได้ลองอัพเกรดจากระบบเฟือง คุณจะรู้สึกได้ทันทีว่าระบบเฟืองนั้นมันกลายเป็นของเด็กเล่นไปเลย

Thrusmaster T300RS กับระบบสายพานทดแรงมอเตอร์

และระบบสุดท้าย ระบบ Direct Drive เป็นระบบที่ใช้มอเตอร์แรงบิดสูง มีทั้ง Servo และ Step มอเตอร์ ให้การตอบสนองเหนือชั้นกว่าระบบสายพานไปอีกระดับ ระบบนี้มีทั้งแบบงาน Custom Made และแบบ Mass Prosuct เช่นยี่ห้อ Simucube ,Fanatec ,Simagic ,Augry ,SimXperience ,Frex ซึ่งราคานั้น อาจจะโหดร้ายไปสำหรับหลายๆคน และไม่น่าจะมีใครที่กล้าสั่งของแบบนี้มาใช้โดยไม่ได้ลองก่อนแน่ๆ (ส่วนมากราคาครบเซ็ทแบบเล่นได้จะอยู่ตั้งแต่แสนขึ้นไป)

แต่ก่อนนั้นเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ระบบนี้ถูกใช้กันในเฉพาะทีมแข่งรถใหญ่ๆ เพื่อให้นักแข่งได้ซ้อมกับระบบ Simulator เนื่องจากตัวมันสามารถทำแรงต้านได้พอๆกับการขับรถโกคาทเลยทีเดียว(สำหรับคนที่ไม่เคยขับโกคาท ผมบอกเลยว่าหนักกว่ารถบ้านมากๆครับ หนักกว่ารถกระบะไม่มีพวงมาลัยพาวเวอร์อีก) และเช่นเคย.. เมื่อคุณมีโอกาสได้ทดลองใช้ระบบ Direct Drive มันจะทำให้คุณรู้สึกว่าระบบสายพานที่คุณเคยภาคภูมิใจนั้น กลายเป็นของเล่นไปเลย…

Simucube รุ่นแรกกับระบบ Direct Drive ที่ให้แรงบิดถึง 30Nm

ทิ้งท้ายไว้สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้น

อยากให้ทุกท่านได้ลองเล่นตัวเกมส์ และทดลองอุปกรณ์ Sim ทุกชิ้นก่อนจะเอารับเข้ามาเล่นนะครับ ตอนนี้ตลาดเกมส์กำลังเติบโต อยากให้ทุกท่านที่ลองเล่น เริ่มต้นจากแนวคิดพื้นฐานที่ว่า

“หากคุณต้องการขับรถจริง คุณต้องมีการหัดและฝึกซ้อมก่อน การเล่น Sim ก็เช่นกัน ถ้าคุณขับรถยนต์จริงได้นั้น ไม่ได้หมายความว่าคุณจะขับรถในเกมส์ Sim ได้ เช่นกัน”

และ

“จอยเกม ไม่ได้ลอง ไม่ได้เล่น อย่าซื้อ” โดยคุณ Beaver_XT

ขอบคุณจากใจที่อ่านกันมาถึงตรงนี้ สวัสดีครับ

Categories
บทความทั่วไป

Logitech DFGT Disassembly รื้อมาทำความสะอาดกันเถอะ !

Driving Force GT จอยรุ่นที่ประสบความสำเร็จสูงจาก Logitech อีก 1 ตัว เป็นจอยที่เหมาะสำหรับผู้ที่อยากสัมผัสระบบ FFB(Force Feedback) ในระดับเริ่มต้น ที่ราคาไม่สูงมาก ให้ฟิลลิ่งใกล้เคียงกับรุ่นใหญ่ของแบรนด์อย่าง Logitech G25/G27/G29 พร้อมกับการหมุนได้ 900 องศา

เริ่มผลิตครั้งแรกในปี 2007 และปัจจุบันได้เลิกผลิตไปแล้ว แต่ยังคงเหลือในตลาดมือสองได้ทั่วๆไป โดยปัจจุบันนี้ ตัวพวงมาลัยนั้น ไม่รองรับเครื่องเล่น PS4 แล้ว แต่ยังคงใช้กับเกมส์ PC ได้

ตัวผลิตภัณท์นี้จะออกมาเป็นรุ่นกล่องเขียว (เก่า) และกล่องดำ-ฟ้า (ใหม่) โดยรุ่นใหม่นั้นจะมีการอัพเกรดตัว Optical Encoder ให้มีความแข็งแรงขึ้น ทนต่อการหักได้มากกว่ารุ่นเก่า

ติดตามรีวิวเต็มๆได้ในคลิปถัดไปครับ